วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556



ซัดต้ม

 



ภาค     ภาคใต้
จังหวัด  พัทลุง
วิธีการเล่น
การซัดต้ม เริ่มด้วยการเตรียมอุปกรณ์ในการซัดต้ม โดยทำลูกต้มสำหรับปาด้วยข้าวตากผสมทรายห่อด้วยใบตาลโตนด หรือใบมะพร้าวมาสานแบบตะกร้ออย่างแน่นหนา ขนาดเท่ากับกำปั้นพอเหมาะมือ อาจจะใช้หวายสอดภายนอกอีกชั้นหนึ่งเพื่อให้แน่นและคงทนยิ่งขึ้น หลังจากนั้นก็นำลูกต้มไปแช่น้ำเพื่อให้ข้าวตากพองตัวมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอีก เมื่อปาถูกฝ่ายตรงข้ามจะทำให้เจ็บ บางครั้งทำให้เลือดตกยางออกได้ ส่วนสนามหรือเวทีในการซัดต้มปลูกยกพื้นสูงประมาณ ๑ เมตร กว้างด้านละ ๑-๒ เมตร ห่างกันประมาณ ๖-๘ เมตร หรืออาจจะใช้พื้นดินธรรมดาก็ได้
การเปรียบคู่ จะเอาคนที่มีลักษณะรูปร่างความแข็งแรงและความชำนาญที่พอจะสู้กันได้ หรืออาจจะให้คนที่มีฝีมือมาสู้กัน คู่ต่อสู้จะยืนบนเวทีหันหน้าเข้าหากัน ห่างกันประมาณ ๖-๘ เมตร โดยมีกรรมการเป็นผู้กำหนด การปาหรือซัดต้มจะผลัดกัน เช่น ปาคนละ ๓ ครั้ง โดยมีลูกต้มวางอยู่ข้างหน้าฝ่ายละประมาณ ๒๕-๓๐ ลูก การแต่งกายจะนุ่งกางเกงหรือนุ่งผ้าโจงกระเบนก็ได้ บางคนอาจจะมีมงคลสวมหัว มีผ้าประเจียดพันแขนเช่นเดียวกับนักมวย ก่อนลงมือแข่งขันก็มีการร่ายคาถาอาคม ลงเลขยันต์ที่ลูกต้มเพื่อให้แคล้วคลาดจากลูกต้มฝ่ายตรงข้าม
ผู้ที่จะเป็นนักซัดต้มได้นั้นต้องเป็นคนใจกล้า สายตาดี เมื่อคู่ต่อสู้ปามาด้วยความเร็วและแรงนั้น ต้องมีความสามารถในการหลบหลีกหรือรับลูกต้มไว้โดยไม่ให้ถูกตัว หรือใช้เท้าถีบลูกต้มให้กระเด็นออก ถ้ารับด้วยมือต้องกำลูกต้มบางส่วนอยู่ในมือ หากรับด้วยมือเปล่าอาจทำให้มือเคล็ดได้ จะเห็นว่าการซัดต้มหรือปาต้มนั้นเต็มไปด้วยความสนุกสนานตื่นเต้น โดยเฉพาะเสียงเชียร์จากผู้ดู การซัดต้มจึงต้องอาศัยศิลปะ ไหวพริบ และความว่องไวเป็นอันมาก ผู้ใดปาหรือซัดถูกคู่ต่อสู้มากก็จะเป็นฝ่ายชนะ
โอกาส
ซัดต้ม เป็นกีฬาพื้นเมืองที่นิยมเล่นกันในเทศกาลออกพรรษา มีประวัติเกี่ยวเนื่องกับประเพณีชักพระ ซึ่งจัดในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ เข้าใจว่ากีฬาซัดต้มนี้มีเฉพาะจังหวัดพัทลุงเท่านั้น และมีเพียงบางตำบล เช่น ตำบลตำนาน ชะรัด ท่าแค ร่มเมือง เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันหาดูได้ยากแล้ว และในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นก็เคยปรากฏว่าเจ้าบ้านผ่านเมืองได้คัดเลือกผู้ มีฝีมือในการซัดต้มไปแสดงการซัดต้มถวายหน้าพระที่นั่งหลายครั้งหลายครา

ปรัชญา

"ซัดต้ม" เป็นกีฬาการต่อสู้ที่ให้ความสนุกสนาน และส่งเสริมความมีน้ำ



 




ละ ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของไทยมุสลิม


โนราแขก




กำทาย


เป่ากบ


เป่ากบ : การละเล่นของเด็ก


หมากขุม




เพลงบอก

 
ภาค     ภาคใต้
จังหวัด  นครศรีธรรมราช

การละเล่นพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - เพลงโคราช


เพลงโคราช






ภาค     ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด  นครราชสีมา
  • อุปกรณ์และวิธีการเล่น
เล่นบนโรงเพลงขนาด ๓x๓ เมตร หมอเพลงชาย ๒ คน หญิง ๒ คน นุ่งผ้าโจงกระเบน หญิงสวมเสื้อรัดรูป ชายสวมเสื้อคอกลมหรือเสื้อเชิ้ต มีผ้าขาวม้าคาดพุง หมอเพลงจะเริ่มลงโรงว่าเพลงตั้งแต่ ๒๑.๐๐ น. ไปจนถึง ๐๖.๐๐ น. ของวันใหม่ เริ่มจากพิธีการไหว้ครูแล้วหมอเพลงผู้ชายลงโรงก่อนร้องเพลงเกริ่น บอกให้รู้ถึงเหตุที่จัดให้มีการเล่นเพลงขึ้นเพื่ออะไร งานอะไร ใครเป็นเจ้าภาพ ให้ผู้ฟังทราบและมักจะมีการขออภัยผู้ชมหากการแสดงบกพร่อง จากนั้นจะร้องเชิญฝ่ายหญิงให้มาว่าเพลงกับตน เมื่อฝ่ายหญิงลงโรงแล้วจะร้องแก้ว่าที่ลงมาช้าเพราะเป็นผู้หญิงต้องแต่งกาย ให้สวยงาม จากนั้นก็ดำเนินการว่าเพลง เริ่มตั้งแต่เพลงถามข่าว เป็นการถามถึงชื่อบ้านเกิด การทำมาหากินของกันละกัน แล้วร้องเพลงเปรียบแล้วว่าเพลงไหว้ครู เพื่อระลึกถึงครูอาจารย์ คุณพระรัตนตรัย และพญามารที่จะมาขัดขวางการว่าเพลง แล้วว่าเพลงปรึกษากันว่าจะเริ่มเล่นเรื่องอะไรก่อนดี จากนั้นว่าเพลงเกี้ยวเป็นการเกี้ยวพาราสีกันเมื่อชอบพอกันแล้วก็ชวนกันหนี หรือชวนไปชมนกชมไม้ จากนั้นว่าเพลงชมธรรมชาติ จบจากเพลงชมธรรมชาติจึงว่าเพลงเรื่อง เช่น เวสสันดร ศุภมิตรเกศินี ฯลฯ จบจากเพลงเรื่องจึงเน้นเพลงลองปัญญาเพื่อซักถามประวัติบางสิ่งบางอย่างทดสอบ ปัญญากัน เมื่อใกล้สว่างก็จะว่าเพลงเกี้ยวแกมจากสั่งลากัน และเพลงปลอบที่จะต้องจากกัน ฝ่ายหญิงจะว่าเพลงคร่ำครวญ สุดท้ายเป็นเพลงให้พรเจ้า ภาพและเพลงลาเป็นการจำลาโรงเมื่อรุ่งเช้า
  • โอกาสที่เล่น
เล่นในงานนักขัตฤกษ์ งานสมโภชต่าง ๆ และการเล่นแก้บนท้าวสุรนารี
  • คุณค่า
๑. เนื้อหาของเพลงจะแสดงวิถีชีวิตของบุคคลในสังคมในแง่มุมต่าง ๆ รวมทั้งแทรกความสนุกสนานในรูปความบันเทิงอย่างดียิ่ง หมอเพลงโคราชในอดีตได้ทำหน้าที่เป็นผู้แพร่ข่าวสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่ หนึ่ง เป็นผู้มีประสบการณ์กว้างไกล เพราะพบเห็นเหตุการณ์และผู้คนหลากหลาย หมอเพลงโคราชและคนฟังเพลงโคราชในอดีตจึงมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพราะเป็นคนในสังคมเดียวกัน จึงเข้าใจปัญหาของกันและกัน ต่างก็เป็นปราชญ์ทางภาษาเช่นเดียวกัน จึงสื่อความคิดผ่านเพลงโคราชออกมาสู่กันได้
๒. เพลงพื้นบ้านเป็นคติชนวิทยา ซึ่งเป็นที่รวมความรู้เกี่ยวกับชาติพันธุ์โคราช ทั้งภาษา ความรู้ ความคิด วัฒนธรรม ประเพณี ตลอดจนปรัชญาของชีวิต
การละเล่นภาคกลาง

ชักเย่อ                                    
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
วิธีการเล่น
แบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย ๆ ละกี่คนก็ได้ตามแต่จะตกลงกัน เมื่อแบ่งพวกได้แล้วก็ขีดเส้นแบ่งแดน หัวแถว (ถ้าเป็นชายเรียกพ่อหลัก ถ้าเป็นหญิงเรียกแม่หลัก) ของทั้งสองฝ่ายเหยียดแขนจับไม้ยึดแนวขนานกับพื้นทั้งสองมือ ไม้จะนอนขนานกับเส้นแบ่งแดน ลูกน้องของแต่ละฝ่ายเกาะเอวหัวแถวเรียงต่อ ๆ กัน เริ่มเล่นต่างฝ่ายพยายามดึงให้ฝ่ายตรงข้ามหลุดล้ำเข้ามาในแดนตน ฝ่ายใดหลุดล้ำถือเป็นฝ่ายแพ้ เมื่อแพ้ทั้งสองฝ่ายก็จะเริ่มต้นเล่นเพลงระบำกัน พอจบก็เริ่มชักเย่อกันใหม่
 
 
สะบ้าล้อ
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์

-สะบ้า ตั้ง (สะบ้าแก่น) ซึ่งเป็นเมล็ดพืชชนิดหนึ่งซึ่งมีลักษณะเป็นเถา ชื่อว่า เถาสะบ้า เป็นพันธุ์ไม้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น มีฝักยาว ภายในมีเมล็ดสีน้ำตาลเข้ม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ ๕ เซนติเมตร
-สะบ้าล้อ นิยมทำจากไม้เนื้อแข็งประเภทไม้ประดู่ นำมากลึงเป็นรูปกลมแบน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๖-๘ เซนติเมตร มีลายเป็นเส้นวงกลมซ้อน ๆ กันหลายวง เรียกว่าด้านหงาย ด้านที่เป็นพื้นเรียบ เรียกว่า ด้านคว่ำ
วิธีการเล่น
สะบ้าล้อจะแบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายละกี่คนก็ได้ โดยทั่วไปจะประมาณ ๗ คน สนามที่ใช้ต้องเป็นดินอัดแน่นขนาดกว้าง ๗ X ๑๔ เมตร ฝ่ายใดจะเป็นผู้เล่นก่อน-หลัง ขึ้นอยู่กับการตกลงกันก่อนเล่น ผู้เล่นก่อนจะลงมือเล่นไปตามท่าที่กำหนด ผู้เล่นทีหลังจะเป็นผู้เฝ้าดูอยู่ใกล้กับแถวสะบ้าตั้ง ให้ฝ่ายตรงข้ามเล่นไปตามกติกา ท่าที่นิยมเล่นมีอยู่ ๗ ท่า ดังนี้
๑.ท่าล้อนิ่ง นำสะบ้าวางบนมือแล้วล้อไปข้างหน้า เมื่อสะบ้าหยุดล้อ ให้ผู้เล่นเอาส้นเท้าวางบนสะบ้าแล้วหยิบสะบ้าล้อขึ้นมาวางบนเข่าดีดให้ถูก สะบ้าตั้ง
๒.ท่าล้อปากเป่า ทำเช่นเดียวกับท่าล้อนิ่ง แต่ต้องวิ่งตามไปเป่าสะบ้าด้วย เมื่อสะบ้าหยุด ให้ดีดเช่นเดียวกับท่าที่ ๑
๓.ท่าแพนดีด นำสะบ้าล้อวางบนมือให้ด้านหงายขึ้น ใช้มือทอยไปข้างหน้า สะบ้าหยุดที่ใด ให้ดีดเช่นเดียวกับท่าที่ ๑
๔.ท่าหกโนนดีด ใช้ เท้าทั้ง ๒ ข้างหนีบลูกสะบ้าให้อยู่ระหว่างส้นเท้า โน้มตัวลงเอามือทั้งสองข้าง เท้าพื้น ยกส้นเท้าสะบัดให้สะบ้าข้ามศรีษะไป เมื่อล้อไปหยุดที่ใดให้ดีดเช่นเดียวกับท่าที่ ๑
๕.ท่าหกโนนพ้น ทำเช่นเดียวกับท่าที่ ๔ แต่ต้องทำให้สะบ้าล้อเลยแถวสะบ้าตั้ง
๖.ท่าหนึ่งรองหงาย เอาสะบ้าล้อวางบนพื้นดินให้ด้ายหงายขึ้น หาเศษอิฐ หิน เศษไม้มาหนุนให้มุมด้านใดด้านหนึ่งกระดกขึ้น แล้วใช้นิ้วหัวแม่เท้าทั้ง ๒ ข้างเกี่ยวกัน ดีดสะบ้าไปข้างหน้า ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๓ ให้ถูกสะบ้าตั้งพอดี
๗.ท่าหนึ่งรองคว่ำ ทำเช่นเดียวกับท่าที่ ๖ แต่วางสะบ้าล้อคว่ำ
กติกาการเล่น
.การจองคู่ ตกลงเลือกเล่นก่อน-หลัง โดยโยนสะบ้าหงาย-คว่ำ หรืออื่น ๆ
๒.การตั้งสะบ้า เป็นหน้าที่ของฝ่ายตรงข้ามที่รอเล่น
๓.การใช้คู่ คือการทำแทนเพื่อนที่ยิงสะบ้าตั้งไม่ถูก
๔.การดีดสะบ้าล้อให้ผู้เล่นนั่งบนส้นเท้าของตนเองข้างหนึ่ง เข่าอีกข้างหนึ่งยกขึ้นเหนือพื้นประมาณ ๑ ฟุต นำสะบ้ามาวางบนเข่าใช้นิ้วดีดให้ถูกลูกสะบ้าตั้งของตนเอง
๕.การทำเน่า หรือ ริบ คือ การที่ผู้เล่นทำผิดกติกา เช่น ยิงสะบ้าตั้งของผู้อื่น ล้อสะบ้าล้อเกิน แถวสะบ้าตั้ง เป็น
 
 
หลุมเมือง
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
วิธีการเล่น

ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายนั่งอยู่คนละข้างหลุม (จำนวนหลุมมีไม่จำกัด) ตกลงกันว่าจะกองทุนคนละเท่าใด เอาเบี้ยหรือสิ่งอื่นใช้แทนเบี้ยมารวมกัน แล้วหยอดใส่หลุมไว้หลุมละเท่าๆ กันแต่ หลุมหน้าผู้เล่นทั้งสองต้องมากกว่าหลุมอื่น ซึ่งเรียกว่า หลุมเมือง เมื่อเริ่มเล่นฝ่ายใดเริ่มก่อนจะหยอดเบี้ยใส่หลุมไปเรื่อยๆ ตามลำดับจนหมดเบี้ย เมื่อหมดเบี้ยในมือก็หยิบเอาเบี้ยในหลุมถัดไปหยอดต่อทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพบหลุมว่าง ผู้เล่นคนแรกจึงมีสิทธิกินเบี้ยทั้งหมดในหลุมถัดไป (ถัดจากหลุมว่าง) ผู้เล่นคนที่สองก็จะดำเนินการเล่นเหมือนคนแรก เมื่อพบหลุมว่างและกินเบี้ยหลุมถัดไป จึงผลัดกันเล่นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหมดทุนเลิกไป ผู้อื่นก็จะมาเล่นแทน
 

การแข่งขันวัวลาน
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
วิธีการเล่น

ชาว บ้านจะนำวัวมาวิ่งแข่งกันเป็นวงกลมในลานที่กำหนด โดยมีเสาเกียดซึ่งปักอยู่กลางถนนเป็นศูนย์กลาง ผูกเชือกพรวนของวัวแต่ละตัวเรียงกันตามลำดับ จากในเสาเกียดออกมาถึงริมลาน รวมจำนวน ๑๙ ตัว ซึ่งเจ้าของพวงวัวแต่ละพวงก็จะตระเตรียมวัวของตนมาทั้งวัวนอกและวัวในหรือ วัวรอง
วัวรองหรือวัวใน จะมีทั้งหมด ๑๘ ตัว เป็นส่วนใหญ่ เจ้าของพวงวัวจะผูกวัวตามเชือกพรวนจากเสาเกียดกลางลานออกมา ตัวที่ฝีเท้าจัด แข็งแรง จะอยู่ด้านริมเชือกพรวน เป็นตัวที่ ๑๖, ๑๗, ๑๘ เพื่อเอาไว้วิ่งแข่งกับวัวนอกของพวงอื่นที่จะนำมาทาบประกบเป็นตัวที่ ๑๙
วัวนอก คือ วัวตัวที่เจ้าของพวงวัวถือว่าเก่งที่สุด มีกำลังมากและฝีเท้าจัด จะนำมาทาบกับวัวในของพวงวัวอื่น ผูกทับเป็นตัวที่ ๑๙ อยู่นอกสุดของลานเพื่อจะได้วิ่งแข่งกันเอาชนะวัวรองให้ได้ในการแข่งขันแต่ละ เปิด ซึ่งแน่นอนว่าวัวตัวนอกสุดที่เรียกว่าวัวนอกนี้จะเป็นวัวที่ต้องวิ่งทำระยะ ทางไกลที่สุดและมีฝีเท้าจัดที่สุด
ถ้าวัวนอกวิ่งแซงวัวรองได้แล้วสามารถลากวัวรองตามไปอย่างไม่เป็นขบวนจนดิ้น หลุดขาดไป นั่นหมายถึงวัวนอกชนะ แต่ถ้าวัวรองวิ่งแซงนำวัวนอกได้วัวรองก็ชนะไป แต่ถ้าไม่สามารถเอาชนะกันได้ก็ถือว่าเสมอ
 
 
ตะกร้อลอดบ่วง
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
ลักษณะของห่วงและลูกตะกร้อ

ลูกตะกร้อที่ใช้มี ๓ ขนาด
๑.ขนาด ๑๖๐ กรัม ใช้สาน ๘ เส้น
๒.ใช้แข่งเซปัคตะกร้อ ขนาด ๑๘๐ กรัม ใช้สาน ๘ เส้น
๓.ใช้แข่งตะกร้อลอดบ่วง ขนาด ๑๙๐-๒๐๐ กรัม
ขนาดของห่วง เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๘ นิ้ว นำเหล็กมางอเป็นวงกลม ๓ วง ผูกติดกันและใช้เชือกสานเป็นตาข่าย ในสมัยก่อนจะเรียกว่า "ห่วงลาว" ความกว้างของห่วงจะไม่เท่ากัน คือ
ห่วงที่ ๑ เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๖ นิ้ว
ห่วงที่ ๒ เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๔ นิ้ว
ห่วงที่ ๓ เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๔ นิ้ว
ห่วงลาวจะนำมาผูกติดกันเป็นเส้นตรง โดยมีตาข่ายอยู่ด้านในโดยวัดความสูงของก้นห่วงอันสุดท้ายจากพื้น ๗ เมตร และมีการนำดอกไม้ประดิษฐ์มาประดับเพื่อให้เกิดความสวยงาม
แต่ละท่าของตะกร้อจะมีคะแนนต่างกัน
๑.ลูกหน้าเท้า (ลูกแปร) ๓ คะแนน
๒.ลูกหลังเท้า ๑๕ คะแนน
๓.ลูกเข่า ๖ คะแนน
๔.ลูกศีรษะ ๑๐ คะแนน
๕.ลูกไหล่ ๑๒ คะแนน
๖.ลูกข้าง ๖ คะแนน
๗.ลูกบ่วงมือ ๑๒ คะแนน
๘.ลูกแข้ง ๖ คะแนน
๙.ลูกตัดไขว้ ๒๕ คะแนน
๑๐.ลูกไขว้หน้า ๒๕ คะแนน
๑๑.ลูกขึ้นม้าธรรมดา ๘ คะแนน
๑๒.ลูกขึ้นม้าบ่วงมือ ๑๕ คะแนน
๑๓.ลูกพับเพียบธรรมดา ๘ คะแนน
๑๔.ลูกพับเพียบบ่วงมือ ๑๕ คะแนน
๑๕.ลูกไขว่เข่า ๒๐ คะแนน
๑๖.ลูกตบไขว้ ๑๕ คะแนน
๑๗.ลูกไขว้ส้น ๒๐ คะแนน
๑๘.ลูกไขว้ส้นบ่วงมือ ๒๕ คะแนน
๑๙.ลูกศอกหลัง ๑๐ คะแนน
๒๐.ลูกข้างหลังธรรมดา ๑๕ คะแนน
๒๑.ลูกข้างหลังบ่วง ๒๐ คะแนน
๒๒.ลูกตบหลัง ๒๐ คะแนน
๒๓.ลูกตบหลังบ่วง ๒๕ คะแนน
๒๔.ลูกส้นหลังตรง ๓๐ คะแนน
๒๕.ลูกส้นหลังบ่วง ๓๕ คะแนน
๒๖.ลูกพับหลังบ่วง ๔๐ คะแนน เป็นลูกที่คะแนนสูงสุด
 
 
หุ่นกระบอก
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์

ตัวหุ่น คนเชิด และโรงหุ่น
ตัวหุ่นมีส่วนประกอบคือ
-ศีรษะหุ่น แกะจากไม้เนื้อเบา เช่น ลำพู ไม้นุ่นทองพราว ไม้โมก หรือไม้สัก แล้วปั้นแต่งหน้าด้วยรักหรือดิน ปิดด้วยกระดาษสาที่ฉีกเป็นชิ้นเล็กๆ ทาแป้งเปียกหรือกาว ๓ ชั้น จนเรียบแน่น ทาฝุ่นสีขาว ๓ ชั้น รอจนแห้งสนิท แล้วใช้ใบลิ้นเสือ หรือกระดาษทรายน้ำขัดทั่วหน้าหุ่น
-ศีรษะหุ่นที่เป็นตัวตลก จะทำปากอ้าได้ หุบได้ โดยมีเชือกดึงจากหน้าและมีห่วงอยู่ปลายเชือกสำหรับสอดนิ้วโป้งเข้าไปกระตุกให้ปากอ้าหรือหุบได้
-ลักษณะตัวหุ่น ตัวหุ่นกระบอกจริงๆ คือ ไม้กระบอกหรือไม้ไผ่นั่นเองมีไหล่ทำด้วยไม้เจาะรูสำหรับเสียบ
-มือหุ่น หุ่นตัวพระ จะมีมือขวาถืออาวุธไว้เสมอ จึงมักจะแกะด้วยไม้มีรูสำหรับเสียบอาวุธเปลี่ยนไปได้ตามเรื่อง
             หุ่นตัวนาง มือหุ่นจะตั้งวงรำทั้งสองข้าง แต่บางตัวจะมีมือขวาถืออาวุธบ้างพัดบ้าง
ลักษณะโรงหุ่นกระบอกและฉาก
โรงหุ่น มีลักษณะดังนี้
๑.สูงจากพื้นดินพอประมาณให้คนยืนหรือนั่งดูได้
๒.ความยาวหน้าโรงประมาณ ๗ เมตร หรือ ๓ วา ๒ ศอก
๓.ความสูงจากพื้นถึงหลังคาโรงหุ่นประมาณ ๓.๕๐ เมตร
๔.ความสูงจากหน้าโรงถึงหลังโรงไม่น้อยกว่า ๕ เมตร
ฉากหุ่นกระบอกเขียนด้วยสีฝุ่นเป็นรูปปราสาทราชวัง เป็นฉากผ้ามี ๕ ชิ้น ตัดต่อกันเป็นผืนเดียวลงมาจากด้านบน โรงต้องสูงจากพื้นที่นั่งเชิด ๑ ศอก หรือ ๕๐ เซนติเมตร เพื่อให้มือคนเชิดสอดศอกมาจับหุ่นเชิดหน้าฉากได้สะดวก
วิธีการเล่น
การเชิดหุ่น มือซ้ายของผู้เชิดจะถือกระบอกไม้ไผ่อันเป็นลำตัวหุ่นและถือตะเกียบมือหุ่น ซ้าย ขวา ไว้ในมือขวาของผู้เชิด เมื่อมีการใช้บทบาทบางครั้งผู้เชิดจะเอานิ้วก้อยซ้ายหนีบตะเกียบซ้ายของหุ่น เอาไว้ การเชิดหุ่นมีท่าในการเชิดหลายแบบ คือ ท่าบทบาทได้เต็มที่
๑.กล่อมตัว เป็นท่าเชิดพื้นฐาน คือ กล่อมไหล่หุ่นจากซ้ายไปขวาและจากขวาไปซ้าย ให้นุ่มนวล
๒.เชิดอ้อมมือ คือ แทงมือจากขวาไปซ้าย และจากซ้ายไปขวา
๓.กระทบตัว ตรงกับจังหวะ ยืด ยุบ ของโขน ละคร
๔.โยกตัว ในจังหวะ "ต้อม ต้อมม่า ทิงทิง ตุ๊บ ทิงทิง"
ดนตรีการขับร้อง
วงดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงหุ่นกระบอก โดยมากใช้ปี่พาทย์เครื่องห้า ประกอบ ปี่ใน ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองแขก กลองทัด และเครื่องดนตรีที่เป็นสัญลักษณ์ของการแสดงหุ่นกระบอกที่จะขาดไม่ได้ คือ ซออู้ กลองแต๊ก แต๋ว นอกจากนี้ยังมี ม้าห้อ ล่อโก๊ะ เพิ่มพิเศษเฉพาะเรื่องราวที่เกี่ยวกับจีน เช่น เรื่องพระอภัยมณี ตอนศึกเก้าทัพ เป็นต้น ส่วนล่างของฉากจะเขียนเป็นกำแพงเมือง มีใบเสมาสูง ๑ ศอก หรือ ๕๐ เซนติเมตร ทำด้วยผ้าโปร่งหรือมู่ลี่ เพื่อให้คนเชิดเห็นตัวหุ่นได้ถนัด ประตูฉากมี ๔ ประตู ผู้รับโรง ๒ ประตู ด้านในอีก ๒ ประตู เป็นประตูสำหรับหุ่นเข้าออก ส่วนใหญ่จะใช้แต่ประตูใน หากเป็นการยกทัพมีคนมากจะใช้ประตูนอก
เรื่องที่ใช้ในการแสดง
พระอภัยมณี ลักษณวงศ์ สุวรรณหงส์ ไชยเชษฐ ไกรทอง ขุนช้าง-ขุนแผน วงษ์สวรรค์-จันทวาส พระปิ่นทอง (แก้วหน้าม้า) โกมินทร์ มาลัยทอง เป็นต้น
การพากย์หุ่น
ผู้เชิดต้องร้องเพลงหุ่นเอง และพูดเจรจาบทพากย์ต่างๆ บางทีก็ใช้ผู้หญิงพากย์แทนผู้เชิดที่เป็นชายก็มี และในการพากย์ การร้อง ต้องมีคนบอกบทคอยตะโกนบอกทั้งผู้เชิดและนักดนตรีเพื่อแสดงให้สอดคล้องกัน
 
 
หมากเก็บ
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์
-ก้อนหินลักษณะค่อนข้างกลมขนาดเท่าหัวแม่มือ จำนวน ๕ เม็ด
วิธีการเล่น
มี ๙ ขั้นตอน คือ หมาก ๑ หมาก ๒ หมาก ๓ หมาก ๔ หมากจุ๊บ หมากเล็กใหญ่ หมากคาย หมากแกง และหมากล้าน
ผู้เล่นจะต้องตกลงกันก่อนว่าจะเล่นสิ้นสุดเกมที่หมากใด แล้วแต่ความสามารถของคู่แข่งขัน ถ้าความสามารถน้อย จะสิ้นสุดที่หมาก ๔ หากความสามารถมากขึ้นก็อาจจบที่หมากจุ๊บ หมากเล็กใหญ่ หมากคาย และหมากแกง เป็นต้น แต่จะจบเกมที่ขั้นตอนใดก็ตาม จะต้องลงท้ายด้วยหมากล้านเสมอ
ระหว่างการเล่นจะต้องเล่นให้ถูกต้อง คือจะต้องรับก้อนหินที่โยนขึ้นไปให้ได้ และจะต้องหยิบก้อนหินที่พื้น โดยไม่ให้ก้อนอื่นสะเทือน หรือไหว หากรับไม่ได้หรือเล่นแล้วเกิดการไหว ก็จะต้องเปลี่ยนให้ฝ่ายตรงข้ามเล่นต่อ
การตัดสิน
การตัดสินว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายชนะนั้น จะนับคะแนนจากจำนวนเม็ดที่ล้านได้ ในหมากล้าน ใครเชี่ยวชาญเล่นได้โดยไม่ไหวเลย และเล่นได้หมากล้านบ่อยๆ ก็จะได้คะแนนมาก
ขั้นตอนการเล่นหมากเก็บ
หมาก ๑
ทอดก้อนหินทั้งหมดลงบนพื้น โยนก้อนหินเม็ดหนึ่งขึ้นไป แล้วเก็บก้อนหินที่ทอดลงไปทีละเม็ด พร้อมรับก้อนหินที่โยนขึ้นไปนั้นให้ได้ทีละเม็ดแล้ววางไว้ข้างตัว เก็บเม็ดที่เหลือโดยวิธีเดิม
หมาก ๒
ทำเช่นเดียวกับหมาก ๑ แต่เก็บก้อนหินครั้งละ ๒ เม็ด
หมาก ๓
ทำเข่นเดียวกับหมาก ๑ แต่เก็บก้อนหิน ๒ ครั้ง ครั้งละ ๑ เม็ด ๑ ครั้ง และครั้งละ ๓ เม็ด ๑ ครั้ง
หมาก ๔
โยนก้อนหินเม็ดหนึ่งขึ้นไป แล้ววางก้อนหิน ๔ ก้อนให้เป็นกองเดียวกัน เก็บก้อนหินทั้ง ๔ ก้อน ขึ้นมา พร้อมกับรับก้อนหินเม็ดที่ตกลงมาให้ได้
หมากจุ๊บ
ใช้วิธีเดียวกับหมาก ๔ แต่ตอนรับก้อนหินให้เอียงมือ เอาส่วนช่องว่างระหว่างหัวแม่มือและนิ้วชี้รับเม็ดก้อนหินที่ตกลงมาให้ได้
หมากเล็กใหญ่
ใช้วิธีเดียวกับหมาก ๑ แล้วฝ่ายตรงกันข้ามว่า "เล็ก" หรือ "ใหญ่" ฝ่ายตรงกันข้ามจะดูลักษณะเม็ดก้อนหินที่คู่แข่งทอดได้ หากก้อนหินอยู่ชิดกันมากอาจทำให้เกิดการไหวได้ ก็จะบอกว่า "เล็ก" ผู้แข่งขันก็จะต้องเก็บก้อนหินทีละเม็ดเหมือนหมาก ๑ ถ้าเม็ดก้อนหินอยู่ห่างกันมาก ฝ่ายตรงกันข้ามจะบอกว่า "ใหญ่" ผู้เล่นก็จะต้องโยนก้อนหินเม็ดหนึ่งขึ้นไปพร้อมกับใช้ฝ่ามือกวาดรวบก้อนหิน บนพื้นให้หมดทั้ง ๔ เม็ด หากรวบไม่ได้ หรือรับก้อนหินพลาด ก็ต้องเปลี่ยนให้ฝ่ายตรงกันข้ามเล่นต่อ
หมากคาย
ใช้มือกำก้อนหินไว้ในมือ ๔ เม็ด โยนก้อนหินเม็ดหนึ่งขึ้นไป พร้อมกับปล่อยก้อนหินออกจากมือ ๑ เม็ด แล้วเก็บก้อนหินพร้อมทั้งรับก้อนหินที่ตกลงมาให้ได้ โดยยังมีก้อนหินที่เหลือค้างอยู่ในมือ
หมากแกง
โยนก้อนหินหนึ่งเม็ดขึ้นไป พร้อมทอดก้อนหิน เมื่อทอดก้อนหินแล้วฝ่ายตรงกันข้ามจะเป็นผู้แกง โดยการเลือกก้อนหิน ๒ ก้อน มาวางให้ชิดกันตรงกลางระหว่างก้อนหิน ๒ เม็ด โดยให้อยู่ในแนวเดียวกัน ผู้เล่นจะต้องหยิบก้อนหิน ๒ เม็ด ที่อยู่ตรงกลางขึ้นมาให้ได้โดยไม่ให้เกิดการไหว การหยิบก็ใช้วิธีเดิมคือ โยนก้อนหินเม็ดหนึ่งขึ้นไป หยิบก้อนหิน ๒ เม็ดพร้อมกับรับก้อนหินที่ตกลงมาให้ได้ แล้ววางก้อนหิน ๒ เม็ดไว้ โยนก้อนหินหนึ่งเม็ดขึ้นไปแล้วรวบก้อนหินทั้ง ๒ เม็ดที่เหลือพร้อมรับก้อนหินที่ตกลงมาให้ได้
หมากล้าน
การเล่นหมากล้านมี ๒ วิธี คือ
การเล่นหมากล้านอย่างง่าย

ให้นำก้อนหินทั้ง ๕ เม็ด ไว้บนหลังมือแล้วโยนก้อนหินขึ้นไป พลิกฝ่ามือแล้วรับก้อนหินให้ได้ ถ้ารับได้เท่าใด ก็คิดคะแนนเท่านั้น
การเล่นหมากล้านอย่างยาก
ให้นำก้อนหินทั้ง ๕ เม็ด ไว้ในฝ่ามือ โยนก้อนหินทั้งหมดขึ้น ใช้หลังมือรับแล้วโยนก้อนหินที่รับได้ขึ้นไปอีกครั้งหนึ่งพร้อมทั้งหงายฝ่า มือรับก้อนหินที่ตกลงมาให้ได้ รับได้เท่าใดก็คิดเป็นคะแนนเท่านั้น
กติกาการแข่งขัน
ผู้เข้าแข่งขันจะตกลงกันก่อนว่า ใครจะเป็นผู้เล่นก่อน โดยการตัดสินเป่ายิงฉุบ หรือหมากล้าน ใครล้านได้จำนวนมากกว่าก็เป็นฝ่ายเริ่มก่อน
 
                                                                               

ท่าโพ-พันสี
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์
-ตะโพน
การแต่งกาย ชาย-หญิง นุ่งโจงกระเบน
เพลงเก็บดอกไม้ ใช้ร้องระหว่างหนุ่มสาว
" เก็บดอกไม้ร่วมต้น เป็นแต่คนละกิ่ง น้องกลัวจะตัดแต่ยอดของน้องเอาไปทิ้ง จะทำให้น้องประข่งเสียแล้ว เอย "
เมื่อเก็บดอกไม้เรียบร้อยแล้วก็จะพากันเข้าไปในโบสถ์ เพื่อมาไหว้พระ อธิษฐานโดยแยกชาย-หญิง โดยให้ทุกคนเป็นลูกคู่ เช่น
"(ชาย) อธิษฐานเอย มือหนึ่งถือพาน ถือพานด้วยดอกแก้ว เกิดมาชาติใดแล้ว ได้ขอให้มีใจผ่องแผ้ว เอย(ลูกคู่) อธิษฐานวานไหว้ ขอให้ได้เหมือนใจเราคิดอธิษฐานเอย ดอกรอบ ดอกผอย ขอให้พบพานเอย" แล้วฝ่ายหญิงก็จะร้องแก้ฝ่ายชายในทำนองเดียวกัน พอเล่นเพลงอธิษฐานครบทุกคนแล้ว ก็จะพากันออกมาจากลานวัด แล้วร่วมเล่น การละเล่นพื้นบ้าน โดยมีหมู่บ้าน แต่ละหมู่บ้านมาร่วมเล่นกัน เช่น เล่นมอญซ่อนผ้า ลูกช่วงลูกชัย ชักเย่อ แม่สี เสือกินลูกเจี๊ยบ และผีพุ่งใต้เป็นต้น
การละเล่นมีเพลง เช่น เพลงเสือกินลูกเจี๊ยบหรือเจี๊ยบ ๆ จ้อย ๆ
"เจี๊ยบ ๆ จ้อย ๆ หมาน้อยกินรำ เดือนมืดเดือนค่ำ อีกามาเห็น อีกามาร้อย ตัดไม้ สองปล้อง มาดีดนมสาว มะเขือขาว ๆ อีหลั่นกันเต อีเรกันหอย... "
เพลงแม่สี
"เชิญเอ๋ยเชิญลง ขอเชิญพระองค์ที่เขาขี้ฝอย ขี่พระยางาน้อย มาลงเอาแม่ตาดำ วันนี้ยังค่ำ มาเต้นมารำเอาแม่นา ค่ำลงวันนี้ขอเชิญแม่ผีมาเอย ผีอะไรเคยเล่น เคยเต้น เคยรำ วันนี้ วันยังค่ำ ขอเชิญมารำกันแม่นา ค่ำลงวันนี้ขอเชิญแม่สีมาเอย"
เพลงรำวงโบราณ
๑.โอ้พระเวสสันดรองค์พระโพธิญาณ ยกสองกุมารให้พรานชีไพร โอ้มัทรี สายใจ(ชะเออเอย)สลบลง ตาย ตายแน่หายาใดแก้คู่รักฉัน หากหายาไม่ทันคู่รักฉัน เห็นจะตายแน่
๒.โมรา โมรา โมรา แรกเริ่มเดิมมาอยู่ในฝาผอบ ตัวฉันชื่อจันทโครพ เปิดฝาผอบพบนางโมรา พาน้องไปเที่ยวกลางไพร น้องเดินไม่ไหวพี่ก็อุ้มนาง มาส่ง พระขรรค์ไปให้โจรไพร จะฆ่าพี่ชายเชียวหรือแม่โมรา
๓.วันทองเธอมาเป็นสองใจ เชื่อไม่ได้น้ำใจแม่วันทอง ขุนแผนไปทัพกลับมา มีรักใหม่ เชื่อไม่ได้น้ำใจแม่วันทอง ตัดใบตองเอามารองเลือด หวังจะเชือดดูเลือดแม่ วันทอง
๔.ลมพัดกระเซ็นไปทางทะเลภาคใต้ จะเหลียวแลไปหัวอกฉันให้ร้าวราน ลมพัดกระเซ็นพัดอยู่ไม่เว้นวัน เปรียบเหมือนดวงจันทร์โอ้ตัวฉันนี้เฝ้าคอย ช่วยโปรด เมตตามารับรักพี่ไว้สักหน่อย รักเขาจะค่อย ๆ อยู่ข้างหน้า
๕.ตะวันรอน ๆ พวกโจรสัญจรไปเจอพระจันทร์ ชื่อไรจะไปทางไหน กันฉันชื่อ พระจันทร์พร้อมด้วยนาง
      โมรา มาดแม้น ไม่ส่งนางมา พี่จ๋าคอยระวังภัยเธอไม่เป็นไร บอกกับนางโมรา
๖.ยามเมื่อฉันสิ้นบุญ ใครจะหนุนฉันเล่า มีกรรมเสียแล้วจ๋า (ๆ) หมดวาสนา น้ำตาไหลพราว ยามพี่มีเวรน้องจะช่วยค้ำ ยามพี่มีกรรมน้องจะช่วยอุดหนุน ยามพี่สิ้นบุญ สองมีอประคองจริง ๆ หรือน้องจ๊ะ รับรองจะต้องแน่นอน ๆ
๗.ยามจันทร์ฉาย แสงกระจายสว่างนภา เมฆน้อยลงมา สว่างจ้าดุจแสงกลางวัน ตัวพี่กระต่ายต่ำต้อย โอ้แม่สาวน้อย เปรียบเหมือนดวงจันทร์ เราซิมารักกัน รักกันให้มั่น ได้ไหมจ๊ะเธอ
๘.เจ้าพวงมาลัยเอย ลอยไปก็ลอยวน ลอยมาทางนี้ ลอยมาให้พี่สักคน เอ๋ยเจ้า พวงมาลัย หัวใจพี่จะขาดแล้วเอย
๙.ทิงโนงโหน่งโนง นกกิ้งโครงมาจับหลังคา จับแมวแจวเรือ มาจับเอาเสือไถนา
                                     
ชักเย่อ
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
วิธีการเล่น
แบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย ๆ ละกี่คนก็ได้ตามแต่จะตกลงกัน เมื่อแบ่งพวกได้แล้วก็ขีดเส้นแบ่งแดน หัวแถว (ถ้าเป็นชายเรียกพ่อหลัก ถ้าเป็นหญิงเรียกแม่หลัก) ของทั้งสองฝ่ายเหยียดแขนจับไม้ยึดแนวขนานกับพื้นทั้งสองมือ ไม้จะนอนขนานกับเส้นแบ่งแดน ลูกน้องของแต่ละฝ่ายเกาะเอวหัวแถวเรียงต่อ ๆ กัน เริ่มเล่นต่างฝ่ายพยายามดึงให้ฝ่ายตรงข้ามหลุดล้ำเข้ามาในแดนตน ฝ่ายใดหลุดล้ำถือเป็นฝ่ายแพ้ เมื่อแพ้ทั้งสองฝ่ายก็จะเริ่มต้นเล่นเพลงระบำกัน พอจบก็เริ่มชักเย่อกันใหม่


การละเล่นพื้นบ้านภาคเหนือ
           ความหมายการละเล่น คำว่า การละเล่นหมาย ถึง การกระทำหรือกิจกรรมใด ๆ ที่ก่อให้เกิดความสนุกสนานรื่นเริงบันเทิงใจ ซึ่งมักมีกติกาการเล่นหรือการแข่งขันง่าย ๆ ไม่สลับซับซ้อนมากนัก จุดประสงค์ส่วนใหญ่ มุ่งเพื่อให้เกิดความสนุกสนาน เพื่อออกกำลังกาย และก่อให้เกิดความสามัคคีทั้งระหว่างผู้เล่นและผู้ชม กติกาอาจกำหนดขึ้นไว้ก่อนและเคยปฏิบัติมาแล้วหรือ ตกลงกันตั้งขึ้นขณะจะเริ่มเล่นก็ได้ คือ ไม่ค่อยพิถีพิถันในเรื่องกติการมากนัก สรุปการละเล่นพื้นบ้านจึงหมายถึง กิจกรรมที่ประชาชนร่วมกันทำขึ้นเพื่อให้สนุกสนานและอื่น ๆ ในแต่ละท้องถิ่นหรือตำบลหมู่บ้าน บางอย่างอาจเหมือนกันกับท้องถิ่นอื่น และบางอย่างอาจแตกต่างกันไปบ้างตามความนิยมของท้องถิ่นนั้น ๆ การละเล่นต่างกับกีฬา การละเล่นแตกต่างจากกีฬาตรงที่การละเล่น จัดทำเพื่อมุ่งความสนุกสนานเป็นใหญ่ ไม่มุ่งที่จะเอาชนะกันอย่างจริงจัง ทั้งผู้เล่นก็ไม่จำเป็นต้องได้ฝึกซ้อมเตรียมตัวมาก่อนแต่อย่างใด คือ จะเล่นเมื่อไรก็อาจเข้าร่วมกิจกรรมเลยก็ได้ ส่วนกีฬา หมายถึง การละเล่นที่ต้องใช้กำลังพอสมควร การแข่งก็มีกติกาวางไว้แน่นอน และเป็นการกระทำที่ สลับซับซ้อน มีกลวิธีการเล่นและผู้เล่นซึ่งเรียกว่า นักกีฬา ก็ต้องได้รับการฝึกฝนมาก่อนพอสมควร ทั้งมีเทคนิคหรือกลวิธีการเล่นต่าง ๆ มากมาย เพื่อหวังให้ได้ชัยชนะ และการเล่นกีฬา ไม่ว่าจะไปเล่นที่ไหน ก็ต้องเล่นแบบนั้น เหมือนกัน เพราะมีกติกากำหนดไว้เป็นการแน่นอนตายตัวอยู่แล้ว การละเล่นพื้นบ้านจึงแตกต่างไปจากกีฬา ตรงที่เป็นการเล่นแบบง่าย ๆ เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน มากกว่าหวังแพ้ชนะเช่นการเล่นกีฬา แต่การละเล่นบางอย่างก็อาจอนุโลมเข้าเป็น นักกีฬา โดยยากที่แยกจากกันอย่างเด็ดขาดคืออาจเป็นกึ่งกีฬากึ่งการละเล่น แต่คนโบราณ ภาคอีสาน นิยมเรียกการละเล่นว่า การเล่นกันทั้งนั้น ไม่นิยมเรียกว่า กีฬาแม้จะมีการแข่งขันกันเหมือนกับการเล่นกีฬาก็ตาม     ความ สำคัญของการละเล่น ได้กล่าวแล้วข้างต้นว่า ธรรมชาติของมนุษย์เกิดมาย่อมมีการเคลื่อนไหว จะอยู่นิ่งไม่ได้ ยิ่งเป็นเด็กแล้วจะต้องมีการเคลื่อนไหวบ่อย ๆ ทั้งนี้ เพื่อบริหาร ร่างกายให้มีการเจริญเติบโต การเคลื่อนไหวหรือออกกำลังกายนับเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งของมนุษย์ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ตลอดถึงผู้สูงอายุและมนุษย์มีนิสัยชอบสังคม คือ ชอบอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม จึงต้องมีการคบหาสมาคมกัน และมีการระบายออกทางจิตใจ เพื่อให้มีความสบายทั้งกายและใจด้วย การละเล่นจึงเป็นการแสดงออกของการเชื่อมความสามัคคีของคน ทำให้คนคบหากันได้อย่างสนิทสนมจึงนับเป็นนันทนาการอย่างหนึ่ง นอกจากนี้การละเล่นเมื่อมีการจัดเป็นระบบหรือแบบแผน มีกติกาให้คนในกลุ่มปฏิบัติ ย่อมเป็นการแสดงถึงความเจริญงอกงามของคนในกลุ่มนั้น และเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งด้วย อันแสดงถึงความเป็นผู้มีวัฒนธรรมของคนกุ่มนั้นด้วย การละเล่นจึงเป็นเครื่องช่วยส่งเสริมให้มีการพัฒนา ทั้งกายและจิตใจของคน ทำให้คนได้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และความสามัคคีกลมเกลียวก้าวหน้านับเป็นวัฒนธรรมได้อย่างหนึ่ง ดังนั้นหากได้มีการฟื้นฟู แก้ไขเปลี่ยนแปลงและส่งเสริมการละเล่นของคนในกลุ่ม ในแต่ละหมู่บ้านให้คงมีอยู่ ผลที่ตามมาก็คือ นอกจากประชาชนได้ออกกำลังกายและทำให้จิตใจสบายแล้ว ยังทำให้คนในกลุ่มอยู่ด้วยกันด้วยความรักใคร่กลมเกลียวกัน และมีความสุขด้วย การละเล่นพื้นบ้านจึงนับมีความสำคัญ ซึ้งเราควรจะได้มีการอนุรักษ์ให้คงมีอยู่ และหาทางส่งเสริมหรือพัฒนาให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น ประโยชน์ของการละเล่น เนื่องจากการละเล่นมีความสำคัญดังกล่าวแล้ว การละเล่นจึงมีประโยชน์สรุปได้ดังนี้

             1. เป็นการช่วยบริหารร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรง ในขณะที่แสดงการละเล่นร่างกายได้เคลื่อนไหว การละเล่นบางอย่างได้มีการออกแรงและแข่งขันกันด้วย จึงทำให้ผู้เล่นได้บริหารร่างกาย ผู้ร่วมกิจกรรมได้ออกกำลังกายได้ด้วย อันเป็นผลให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงจึงมี สุขภาพพลานามัยดี มีอำนาจต้านทานโรค ช่วยทำให้สุขภาพจิตดีเพลิดเพลิน เนื่องจากการละเล่นเป็นนันทนาการส่วนหนึ่ง ทำให้ผู้เล่นรู้สึกสนุกสนานเพลิดเพลิน จิตใจร่าเริงแจ่มใส จึงทำให้จิตใจสบาย มีอารมณ์ดี เป็นการช่วยรักษาสุขภาพจิตของผู้แสดงการละเล่น และคลายความตึงเครียดของประสาทได้เป็นอย่างดีด้วย
             2. เป็นการส่งเสริมให้เกิดความสามัคคี รักหมู่คณะ การละเล่นพื้นบ้านแทบทุกอย่าง จะมีคนร่วมกันเล่นคราวละหลาย ๆ คน นอกจากนี้ ยังมีผู้ร่วมชมและการสนับสนุนการแสดงการละเล่นด้วย บุคคลเหล่านี้จะร่วมกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้ได้มีส่วนร่วมการแข่งขัน การแสดงหรือร่วมสนุกสนานกับกลุ่มคนเหล่านี้ เมื่อได้ร่วมกิจกรรมกัน ความรักใคร่กลมเกลียว ความคุ้นเคยเป็นกันเอง ย่อมมีขึ้นดุจญาติพี่น้องอันแท้จริง ย่อมก่อให้เกิดความรักใคร่สามัคคีในหมู่คณะ บางโอกาสเมื่อผู้ใดมีธุระการงาน ได้รับความเดือดร้อน หรือมีความจำเป็นอะไรบางอย่าง ก็จะได้รับความช่วยเหลือจากผู้สนิทคุ้นเคยเหล่านั้นเป็นอย่างดี ฝึกให้เป็นผู้มีน้ำใจต่อสู้กล้าหาญและมีน้ำใจนักกีฬา การละเล่นบางอย่างย่อมจะมีการต่อสู้และแข่งขันกัน ระหว่างบุคคลต่อบุคคลและหมู่คณะต่อหมู่คณะ การต่อสู้นี้ย่อมต้องอาศัยความสามารรถทั้งด้านกำลังกายและกำลังใจ ผู้ใดได้แข่งขันบ่อย ๆ ย่อมทำให้ร่างกายและจิตใจเข้มแข็งพร้อมที่จะเผชิญปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ เป็นการฝึกคนให้รู้จักต่อสู้และกล้าหาญ ทั้งเป็น การอบรมให้เป็นผู้มีน้ำใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย เป็นต้น นับเป็นการสร้างเสริมนิสัยที่ดีแก่ผู้แสดงการละเล่น
             3. เป็นการส่งเสริมการริเริ่มสร้างสรรค์ ก่อนแสดงการละเล่น ย่อมมีการปรึกษาหารือ และตกลงกันถึงวิธีการเล่นหรือกติกา การจัดหาอุปกรณ์ และค้นหาดัดแปลงวิธีการละเล่นแปลก ๆ ที่เหมาะสมเพิ่มเติม เป็นการฝึกให้บุคคลเหล่านั้น รู้จักคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในสิ่งที่ดีงาม ซึ่งการริเริ่มสร้างสรรค์นี้ควรฝึกให้มีขึ้น โดยเฉพาะเด็ก ๆ และเยาวชน ควรได้มีการฝึกให้มาก ช่วยสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน การละเล่นบางอย่าง เช่น การละเล่นของเด็ก เป็นการเลียนแบบของผู้ใหญ่ ทำให้เด็กมีจินตนาการและได้ฝึกปฏิบัติตามอย่างผู้ใหญ่ เป็นการฝึกให้มีปฏิญาณไหวพริบ ช่วยให้เกิดความรอบรู้บางอย่าง เป็นการส่งเสริมประสบการณ์ชีวิต โดยครูอาจารย์อาจ นำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนในโรงเรียน และผลที่ได้จากการแสดงการละเล่น อาจนำไปใช้ เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันต่อไปด้วย
             4. เป็นการฝึกปฏิญาณไหวพริบ เพราะการละเล่นต่าง ๆ ส่วนมากมักจะมีการแข่งขันกัน การแข่งขันกันจะมีชัยชนะได้ จะต้องอาศัยปฏิญาณไหวพริบของผู้เล่นแต่ละคนประกอบด้วยหากผู้เล่นมีปฏิญาณ ไหวพริบดี ย่อมมีส่วนช่วยให้ผู้เล่นมีชัยชนะในที่สุด ในขณะเล่นผู้เล่นทุกคน ต้องพยายามใช้สมองหรือไหวพริบของตนเอง เมื่อมีการฝึกใช้สมองหรือไหวพริบบ่อย ๆ เข้า ย่อมจะช่วยให้ผู้ช่วยให้ผู้นั้นมีปฏิญาณไหวพริบดีขึ้น นอกนี้การละเล่นบางอย่างอาจช่วยฝึกการสังเกต และฝึกความจำด้วย ฝึกระเบียบวินัย การเชื่อฟัง และรู้จักหน้าที่ ธรรมดาการละเล่นย่อมมีกติกา ผู้เล่นต้องอยู่ในขอบข่ายของกติกา และจะต้องถือระเบียบวินัยแห่งการเล่นและปกติการละเล่นย่อมมักมีผู้ตัดสิน บางทีมีหัวหน้าทีม ผู้เล่นจะต้องเชื่อฟังผู้ตัดสิน และจะต้องเชื่อฟังหัวหน้าทีมด้วย จึงจะทำให้การเล่นดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย และการเล่นถ้าจะให้ได้ชัยชนะข้อสำคัญอย่างหนึ่ง คือ ผู้เล่นจะต้องรู้จักหน้าที่ของตน และพยายามทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด การละเล่นจึงนับเป็นการฝึกสิ่งดีงามดังกล่าวไปในตัว ช่วยแก้ปัญหาเรื่องเด็กซุกซนหรือเล่นเป็นโทษ ตามธรรมชาติของเด็ก ย่อมไม่ชอบอยู่นิ่ง ๆ บางทีการไม่อยู่นิ่งของเด็กอาจเล่นเป็นโทษ เช่น ทำให้เกิดเสียหายหรืออันตรายต่อ ตนเองหรือผู้อื่น ตลอดทรัพย์สิ่งของด้วย เมื่อมีการละเล่นขึ้น เด็กย่อมมีโอกาสระบายออกซึ่ง ความอัดอั้นใน ด้านกำลังกายและจิตใจ ทั้งการละเล่นส่วนมากย่อมมีผู้ควบคุมและอยู่ในกรอบแห่งกติกาการละเล่นจึง ช่วยให้ผู้เล่นได้แสดงออกในทางที่เหมาะที่ควรทั้งเป็นการแก้ปัญหาในด้าน ความซุกซนหรือการเล่นเป็นโทษของเด็กได้เป็นอย่างดี ช่วยทำให้งานประเพณีสนุกสนานครึกครื้น ในงานเทศกาลตามประเพณี เช่น งานบุญตรุษสงกรานต์ งานบุญเข้าพรรษา บุญข้าวสาก บุญออกพรรษา เป็นต้น นอกจากมี การคบงันและจัดกิจกรรมต่าง ๆ แล้ว เมื่อมีการละเล่นประกอบด้วย ก็จะทำให้งานนั้น ๆ สนุกสนาน ครึกครื้น เป็นการส่งเสริมให้งานมีชีวิต ชีวา ช่วยทำให้มีผู้มาร่วมงานมากขึ้น ทำให้ผู้ร่วมงาน รู้จัก คุ้นเคย และรักใคร่ สามัคคี มีความรื่นเริงบันเทิงใจ
             5. เป็นการสร้างเสริมในด้านขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของท้องถิ่น เนื่องจากการละเล่นพื้นบ้านบางอย่าง ประชาชนได้นำมาเล่นในงานประเพณี ช่วยให้งานนั้นสนุกสนานยิ่งขึ้น การละเล่นจึงนับมีส่วนส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณีด้วย นอกจากนี้การละเล่นยังเป็นมาดกตกทอด ลอกเลียนแบบต่อ ๆ กันมาแต่โบราณ เป็นเครื่องบอกถึง ความเจริญก้าวหน้า ของบรรพบุรุษเป็นการแสดงออกของวิถีชีวิต การพัฒนาสังคม ความสามัคคี กลมเกลียวก้าวหน้า จึงนับเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม และการละเล่นของบางท้องถิ่นก็แตกต่าง กันไปจึงนับเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นด้วย ที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่า การละเล่นพื้นบ้านนับว่า เป็นสิ่งที่มีประโยชน์เป็นอย่างมากควรจะได้มีการอนุรักษ์และส่งเสริมให้คงมี อยู่ต่อไป และควรจะได้มีการดัดแปลงแก้ไขการละเล่น บางอย่างให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ก็เชื่อว่า การละเล่นพื้นบ้าน คงจะอำนวยประโยชน์แก่ประชาชน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่เป็นอย่างมาก ข้อควรปฏิบัติการแสดงการละเล่น การแสดงการละเล่นพื้นบ้าน มีข้อควรปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
- ก่อนแสดงการละเล่น ก่อนแสดงการละเล่น ควรนะได้มีการเตรียมบางอย่างไว้ให้พร้อม เพื่อให้การละเล่นเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เป็นต้นว่าจัดสถานที่ ที่เหมาะสม เตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ไว้ให้พร้อมเรียบร้อย หากจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ ก็ควรเตรียมจัดหาให้พร้อม มีสภาพเรียบร้อย ครบถ้วนและปลอดภัย จัดสถานที่เล่นให้เหมาะสมแก่การเล่นแต่ละอย่าง ก่อนลงมือเล่นควรซักซ้อมวิธีการเล่น ตลอดจนกติกาให้เข้าใจ เพื่อมิให้มีปัญหา ถกเถียงกันภายหลัง จัดแบ่งผู้เล่นตามกำลังความสามารถพอเหมาะสมกันทุกฝ่าย เพื่อความเป็นธรรม
- ขณะแสดงการละเล่น ในขณะดำเนินการละเล่น ผู้ควบคุมหรือผู้เป็นหัวหน้าควรดูแลอย่างใกล้ชิด ให้ผู้เล่นได้รับความเป็นธรรม และปลอดภัยมิให้ผู้เล่นเอาเปรียบซึ่งกันและกัน แก้ปัญหาเมื่อเกิดขึ้น และพยายามดูแลการละเล่น ให้ดำเนินไปตามกติการหรือข้อตกลงให้เป็นที่สนุกสนานและพอใจของทุกฝ่าย เป็นต้น ภายหลังการละเล่น ควรเสนอแนะผู้เล่นให้มีใจกว้าง รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ร่วมมือกันด้วยความยินดีสนุกสนาน หากมีข้อบกพร่องอะไรก็เสนอแนะ เพื่อจะได้แก้ไข หากจะมีการเล่นในโอกาสหน้า จัดเก็บอุปกรณ์และความสะอาดของสถานที่เล่นให้เรียบร้อย นัดหมายผู้เล่น หากจะมีการเล่นอีกในวันต่อไป เป็นต้น ส่งเสริมการวิธีการละเล่น การละเล่นพื้นบ้านมีความสำคัญและให้ประโยชน์อย่างไรท่านก็ทราบแล้ว ซึ่งเราควรหาทางส่งเสริมให้คงมีอยู่ พยายามพัฒนาให้ก้าวหน้าและเผยแพร่ให้เป็นที่ทราบอย่างแพร่หลาย ตลอดจนการนำไปปฏิบัติกันอย่างกว้างขวาง และจริงจังยิ่งขึ้นกว่าเท่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ การส่งเสริมการละเล่นที่ควรดำเนินการ ได้แก่ มีการฟื้นฟูการละเล่นพื้นบ้านที่มีอยู่แต่เดิม ซึ่งกำลังจะสูญหายไปให้คงมีอยู่ โดยให้คิดว่าการละเล่นเป็นมรดกของบรรพบุรุษที่ได้สร้างสรรค์ขึ้น ถือว่าเป็นวัฒนธรรมที่มีคุณค่า ซึ่งอนุชนรุ่นหลังควรจะต้องอนุรักษ์ให้คงมีอยู่ตลอดต่อไป ให้มีการค้นคว้าบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้านขึ้นไว้เป็นหลัก ฐาน ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาและปฏิบัติ พยายามเผยแพร่ผลงานที่ค้นคว้า ให้เป็นที่แพร่หลายโดยทั่วกัน ผู้ใหญ่หรือคนเฒ่าคนแก่ที่มี่ความรู้เกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้าน ควรให้ความร่วมมือ ชี้แจงแนะนำและถ่ายทอดวิธีการละเล่นที่เคยและเคยปฏิบัติมา ให้คนรุ่นหลังได้ทราบ โดยการชี้แจงให้เข้าใจหรือสาธิตวิธีการละเล่นให้ผู้ที่สนใจได้ทราบ ผู้นำท้องถิ่น เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน พระสงฆ์ และผู้ที่ประชาชนเชื่อถือ ฯลฯ ควรจะได้เป็นความสำคัญและหาทางสนับสนุน ให้มีการฟื้นฟูการละเล่นพื้นบ้านขึ้น แนะนำคนอื่นให้เป็นความสำคัญของการละเล่น และร่วมจัดกิจกรรมการละเล่นในโอกาสต่าง ๆ เช่น ในงานทำบุญตามประเพณี ได้แก บุญตรุษสงกรานต์ บุญเข้าพรรษา บุญข้าวสาก บุญออกพรรษา เป็นต้น สถานศึกษาหรือโรงเรียนควรเห็นความสำคัญของการละเล่นพื้นบ้าน ครูอาจารย์ควรจะได้สนใจศึกษา ไม่ควรมองไปว่า การละเล่นพื้นบ้านที่เรามีอยู่เป็นของล้าสมัย และควรพยายามนำเอาการละเล่นพื้นบ้านไปฝึกให้เด็กได้เล่นกัน และการละเล่นบางอย่างครูอาจารย์อาจนำไปใช้ประกอบการเรียน การสอน ให้เกิดประโยชน์แก่เด็กให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เมื่อทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐจัดงานอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น ควรจะได้จัดให้มีการละเล่นพื้นบ้าน ในงานเทศกาล หรืองานประเพณีนั้น ๆ ควรพยายามนำการละเล่นไปเสริมกิจกรรมของงาน หากสามารถจัดทำได้เป็นประจำ จนให้ประชาชนมองเห็นความสำคัญของการละเล่นและจัดให้มีการละเล่นในงานที่จัด ขึ้นโดยสม่ำเสมอได้ยิ่งดี

ชื่อ: ปั่นหนังว้อง
ภาค:ภาคเหนือ
จังหวัด: กำแพงเพชร
อุปกรณ์และวิธีเล่น
       การ ปั่นหนังว้อง คือการปั่นยางวงที่ใช้รัดของ เป็นการเล่นของเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชายเล่นโดยการจับคู่เล่นบนพื้นราบที่ ไม่สกปรก เช่น พื้นเรือน หรือบนโต๊ะ อุปกรณ์ที่ใช้คือ ยางรัดของจำนวนมากน้อยเท่าที่หาได้กติกาการเล่นมีอยู่ว่า หากผู้เล่นฝ่ายใดสามารถคลายยางรัดของออกจากกันเป็นเส้นปกติได้ ก็จะได้ยางรัดนั้นเป็นกรรมสิทธิ์
วิธีเล่น
        เริ่ม จากการนำยางรัดของมาคนละเส้นประกบกันแล้วให้ฝ่ายหนึ่งใช้ส้นมือถูยางรัดของ ที่ประกบกันนั้นโดยแรงให้ยางรัดทั้งสองเส้นบิดตัวพันกันจนแน่น แล้วให้อีกฝ่ายหนึ่งพยายามแกะให้คลายออกจากกัน ถ้าทำได้สำเร็จจะได้ยางรัดของไปเป็นของตน ถ้าทำไม่สำเร็จจะต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งทำแทน ผลัดกันเช่นนี้ไปจนกว่าจะมีผู้ทำสำเร็จ เมื่อเสร็จแล้วก็เริ่มต้นใหม่ไปเรื่อยๆ
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
         เป็นการละเล่นที่ใช้เล่นในยามว่าง
คุณค่า / แนวคิด / สาระ
         การ เล่นปั่นหนังว้อง เล่นได้ทั้งเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิง พ่อแม่สามารถให้ลูกเล่นในบ้านและคอยสังเกตพฤติกรรม นิสัยใจคอของลูก หากพบความผิดปกติจะแก้ไขได้ทันท่วงที
นอกจากนี้ยังเป็นการเก็บรักษายางรัดของไว้ใช้ในโอกาสต่อไปอีกทางหนึ่งด้วย

ชื่อ:ชนกว่าง
ภาค: ภาคเหนือ
จังหวัด: เชียงใหม่
        ใน บรรดาการละเล่นพื้นบ้านทางภาคเหนือ โดยเฉพาะการละเล่นที่เกี่ยวข้องกับสัตว์นั้น การเล่นชนกว่างนับได้ว่าเป็นที่นิยมไม่น้อยกว่าการชนไก่ กัดปลา ชนวัว หรือวิ่งควาย ของภาคอื่น ๆ
         กว่าง เป็นแมลงปีกแข็งชนิดหนึ่ง อยู่ในตระกูลด้วงมี ๖ ขา แต่ละขามีเล็บสำหรับเกาะยึดกิ่งไม้ ใบไม้ได้อย่างมั่นคง กว่างบางชนิดมีเขา บางชนิดไม่มีเขา บางชนิดไม่นิยมนำมาเลี้ยง บางชนิดนิยมเลี้ยงไว้ดูเล่นเช่น กว่างซาง กว่างงวง กว่างกิ กว่างกิอุ และกว่างอี้หลุ้ม
         กว่าง ซาง เป็นกว่างตัวโต ปีกและลำตัวสีน้ำตาลหรือสีแดงด้าน ๆ มีเขาด้านบน ๕ เขา ด้านล่าง ๓ เขาเขาด้านล่างขยับหนีบเข้าหากันได้ มักกินหน่อไม้ซางเป็นอาหาร อุปนิสัยอืดอาดช้าจึงไม่นิยมนำมาเลี้ยง
         กว่างงวง เป็นกว่างที่มีลำตัวกลม ปีกสีแดง ส่วนหัวสีดำ มีเขาบนเขาเดียวงอโง้งเหมือนงวง กว่างกิเป็นกว่างตัวเล็กเขาบนสั้นมากจนเกือบกุด ส่วนเขาล่างยาวกว่า กว่างกิอุจะตัวโตกว่าและเขาบนจะยาวกว่า
กว่างอีหลุ้ม หรือกว่างแม่มูด เป็นกว่างตัวเมีย ไม่มีเขา มักนิยมนำมาใช้ล่อในการชน


อุปกรณ์ในการเล่น
         กว่าง ที่นิยมนำมาเลี้ยงไว้ชนนั้น จะเป็นกว่างตัวผู้และมีเขาทั้งบนและล่าง ปลายเขาจะแยกออกเป็นแฉกและแหลมคม เขาบนติดกับส่วนหัวไม่สามารถขยับได้ ส่วนเขาล่างสามารถขยับหนีบได้ ซึ่งส่วนเขานี้เองคืออาวุธสำคัญในการต่อสู้กับศัตรู
กว่างชน ที่นิยมนำมาเลี้ยงไว้ชน ได้แก่ กว่างกิโตน กว่างแซม กว่างซ้ง กว่างรักน้ำปู๋ และกว่างรักน้ำใส
         กว่าง กิโตนนั้น เขาบนและเขาล่างยาวมาก แต่เขาล่างจะยาวกว่าเล็กน้อย แต่ถ้าเป็นกว่างซ้น เขาบนและเขาล่างยาวมากและเท่า ๆ กัน ปลายเขาแหลมคม
         สำหรับ กว่างแซม เขาจะสั้นเท่ากันทั้งบนและล่าง ส่วนกว่างรักน้ำปู๋ เป็นกว่างที่มีสีดำสนิททั้งตัว ถ้าเป็นกว่างรักน้ำใส จะมีสีดำออกแดงน้ำตาลเล็กน้อย
         ขณะ เลี้ยงดูกว่างผู้เลี้ยงก็จะฝึกฝนทักษะการต่อสู้ด้วยเทคนิคต่าง ๆ เช่น ใช้ไม้ไผ่เหลากลมสอดระหว่างเขาทั้งคู่แล้วปั่น ซ้ายบ้าง ขวาบ้าง เพื่อฝึกปฏิกิริยาในการต่อสู้บางครั้งก็ใช้เชือกเส้นเล็กผูกติดกับเขาบน แล้วแกว่งเป็นวงกลมให้กว่างบินเป็นระยะ ๆ เพื่อฝึกกำลัง บางครั้งก็หากว่างตัวอื่น ๆ ที่มีกำลังด้อยกว่าคู่ซ้อม ให้เกิดความฮึกเหิม ฝึกฝนจนเห็นว่าพอจะนำไปเปรียบชนกับคนอื่นได้แล้ว จึงนำไปที่บ่อนชนกว่าง
          การ เล่นชนกว่างตามบ่อนนับว่าสนุกมาก เพราะมีการเปรียบกว่างหลายคู่ มีการพนันขันต่อเข้ามาเพิ่มรสชาติด้วยตามอัธยาศัย เมื่อเปรียบกว่างและตกลงกันแล้วว่าจะชนกัน เจ้าของกว่างก็จะนำกว่างมาเกาะท่อนอ้อย ซึ่งเปรียบเสมือนสนามประลอง โดยให้เกาะท่อนอ้อยทางด้านปลายทั้งสองให้เผชิญหน้ากันตรงกลางท่อนอ้อย จะฝังกว่างอีหลุ้มไว้ โดยให้ส่วนหลังโผล่ออกมา หลังจากนั้นเจ้าของกว่างก็จะใช้ไม้ไผ่เหลาเสียบเขาให้กว่างเดินเข้ามาหาคู่ ต่อสู้พอได้กลิ่นกว่างอีหลุ้ม กว่างทั้งสองก็จะเกิดการหวงและเข้าต่อสู้กัน โดยการ คาม หรือเอาเขาประสานกัน ต่างฝ่ายต่างหนีบกัน โดยไม่เพลียงพล้ำ เมื่อกว่างตัวใดพยายามเบี่ยงตัวและชิงความได้เปรียบโดยสามารถใช้เขาหนีบคู่ ต่อสู้เพียงฝ่ายเดียว ในขณะประสานเขาอยู่นั้น จะเรียกว่า
          ไหล แต่ถ้าได้เปรียบจนสามารถใช้ปลายเขางัดคู่ต่อสู้จนตัวลอย จะเรียกว่า แคะ บางตัวสามารถหนีบคู่ต่อสู้ด้วยเขาทั้งสอง ยกชูขึ้นลอยทั้งตัว ก็จะถือว่าได้ชัยชนะโดยเด็ดขาดบางตัวถึงตายเพราะถูกคู่ต่อสู้หนีบด้วยเขาใน ลักษณะนี้ แต่บางตัวก็ถอดใจ ล่าถอยไม่ยอมประสานเขาเรียกว่า ถอด และหันหลังหนีไปก็จะถือว่าแพ้ แต่ถ้าไม่แน่ใจว่ากว่างของตนยังสู้ได้หรือไม่ เจ้าของจะจับกว่างมาพ่นน้ำหรือจับแกว่งให้บิน แล้วประลองใหม่ ถ้ากว่างตัวนั้นถอยหนีอีกก็จะถือว่าแพ้จริง ๆ


โอกาสหรือเวลาที่เล่น
         ฤดู กาลเล่นชนกว่าง จะเริ่มต้นตั้งแต่กลางฤดูฝนไปจนถึงต้นฤดูหนาว โดยชาวบ้านจะไปจับตามกอไม้รวก ด้วยการเขย่าให้ตกลงมา ถ้าเห็นว่ามีลักษณะดีตรงตามชนิดที่จะสามารถนำมาเลี้ยงไว้ชนได้ก็จะนำมา เลี้ยง โดยให้อาหารจำพวกหน่อไม้ ลูกบวบ กล้วยสุก อ้อย
แนวคิด
         ปัจจุบัน การเล่นชนกว่างยังคงนิยมเล่นกันอยู่ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ถ้าผู้ใหญ่เล่นมักนิยมไปเล่นในบ่อนเพื่อการพนัน แหล่งซื้อหากว่างที่รู้จักกันดีอยู่ตรงริมแม่น้ำปิง เชิงสะพานนวรัฐ ในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่และตามกาดหรือตลาดทั่วไป

ชื่อ: ไก่ชนมะม่วง (ป๊อกบ่าม่วง หรือการสับมะม่วง)
ภาค: ภาคเหนือ
จังหวัด:เชียงใหม่
อุปกรณ์
๑. ลูกมะม่วงขนาดหัวแม่มือ เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑ นิ้ว หรือขนาดมือกำได้รอบ
๒. เชือกสำหรับร้อยมะม่วง
๓. ไม้ไผ่สำหรับทำเดือย
วิธีการเล่น
      การเล่นไก่ชนมะม่วงจะแบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย กี่คนก็ได้แต่แข่งขันกันทีละคู่ โดยมีวิธีการเล่นดังนี้
๑. ใช้วิธีเสี่ยงว่าใครจะเป็นผู้เริ่มต้นสับไก่มะม่วงก่อน หรือจะใช้วิธีตกลงกันโดยกำหนดให้คนที่มีมะม่วงขนาดเล็กรับก่อน
๒. เจ้าของไก่มะม่วงจะต้องดึงเชือกให้ตึง ห้ามหย่อน ผลัดกันสับคนละครั้ง สับกันไปจนกระทั่งมะม่วงแตก ก็จะใช้ไม้ไผ่เย็บจนเย็บไม่ได้ถือว่าแพ้ หรือเชือกขาดก็ถือว่าแพ้เช่นกัน
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
       เป็นการละเล่นที่เล่นได้ทุกโอกาสในฤดูที่มะม่วงเริ่มออกผล


คุณค่า / แนวคิด / สาระ
       เป็น การละเล่นที่ให้ความสนุกสนาน ส่วนมากจะเป็นการละเล่นของเด็กผู้ชาย สอนให้ผู้เล่นมีน้ำใจนักกีฬา รู้แพ้รู้ชนะ และรู้ระเบียบวินัยของการเล่นด้วยกัน และเป็นการสร้างความสามัคคีต่อการรวมกลุ่ม
ชื่อ: เล่นโพงพาง
ภาค: ภาคเหนือ
จังหวัด: ตาก
สถานที่เล่น
       สนาม ลานกว้าง
อุปกรณ์
     ผ้าปิดตา
จำนวนผู้เล่น
     ไม่จำกัดจำนวน
วิธีเล่น
        ยิง ฉุบกันว่าใครจะเป็นผู้แพ้ต้องปิดตาเป็นโพงพางตาบอด ผู้เล่นคนอื่น ๆ จับมือเป็นวงกลมร้องเพลง โพงพางเอ๋ย โพงพางตาบอด รอดเข้ารอดออก โพงพางตาบอดปล่อยลูกช้างเข้าในวง ขณะเดินวนรอบ ๆ โพงพางตาบอดร้องเพลง ๑-๓ จบ แล้วนั่งลงโพงพางจะเดินมาคลำคนอื่น ๆ ซึ่งต้องพยายามหนี และจะต้องเงียบสนิท หากโพงพางจำเสียงหัวเราะ รูปลักษณะได้จะเรียกชื่อ ถ้าเรียกคนถูกต้องออกมาปิดตาเป็นโพงพางต่อไป ถ้าไม่ถูกก็ต้องเป็นโพงพางอีกไปเรื่อย ๆ
กติกา
        ใครถูกจับได้ และบอกชื่อถูกต้องเป็นโพงพางแทน
โอกาส
        เป็นการละเล่นพื้นบ้านที่เด็ก ๆ เล่นกันโดยทั่วไป

ชื่อ: ยก
ภาค: ภาคเหนือ
จังหวัด: ตาก
อุปกรณ์
       หนังยาง
วิธีการเล่น
๑. แบ่งผู้เล่นออกเป็นทีม ทีมละ ๓ คนขึ้นไป
๒. นำหนังยางมาร้อยให้เป็นเส้นยาวพอสมควร
๓. ทำการเป่ายิงชุบ เพื่อหาว่าทีมไหนแพ้จะเป็นคนจับหนังยางยกเป็นทีมแรก
๔. ขั้นแรก ให้นำเข่าติดกับพื้นมือทั้งสองจับหนังยางพร้อมทั้งยกก้นและ ชูมือให้สุด เพื่อให้ทีมตรงข้ามโดดไม่ผ่าน (ในการเล่นแต่ละขั้นถ้ากระโดดผ่านจะได้เล่นต่อไป)
๕. ขั้นสอง ให้ยกเข่าข้างที่ถนัดแล้วพร้อมทั้งยกก้น และชูมือให้สุดเพื่อให้ทีมตรงข้ามโดดไม่ให้ผ่าน
๖. ขั้นสาม นำหนังยางมาพันเข่าหนึ่งรอบเพื่อให้ทีมตรงข้ามโดด โดยกำหนดว่าต้องโดดไม่โดนหนังยาง แล้วแต่กำหนดว่าจะให้โดดกี่ครั้ง
๗. ขั้นสี่ (ใต้ก้น) คือ นำหนังยางพันใต้ก้นให้ทีมตรงข้ามกระโดดผ่านโดยไม่จัง กำหนดว่าต้องโดดไม่โดนเส้นหนึ่งครั้ง
๘. ขั้นห้า (อีเอว) คือ นำหนังยางไว้ตรงเอวในการเล่นขั้นอีเอวจะมีการกระโดดท่าเพิ่ม คือ อีหญิง อีชาย โดยผู้เล่นจะเลือกท่าไหนก็ได้ จะกำหนดให้เล่นอีหญิง ๒๐ ครั้ง การเล่นอีหญิงคือ การกระโดดโดยการเอาขาข้างที่ถนัดเกี่ยวหนังยางไว้ใต้เข่าและเอาขาอีกข้างโดด ข้ามหนังยางไป แล้วทำซ้ำจนครบ ๒๐ ครั้ง ส่วนอีชายคือ การกระโดดเอาขาข้างที่ถนัดเกี่ยวไปข้างหน้าให้ขากระแดะเป็นเลขสี่และเอาขา อีกข้างกระโดดข้ามตามไปจนครบ ๑๐ ครั้ง
๙. ขั้นหก (อีพุง) ทำเหมือนขั้นห้า (อีเอว) แต่กำหนดการเล่นอีหญิง ๑๐ ครั้ง อีชาย ๕ ครั้ง
๑๐. ขั้นเจ็ด (อียก) ทำเหมือนขั้นห้าและหก แต่กำหนดการเล่นอีชาย ๓ ครั้ง และอีหญิง ๕ ครั้ง
๑๑. ขั้นแปด (อีลักแล้) ทำเหมือนขั้นห้า หก และเจ็ด แต่กำหนดการเล่นอีหญิง ๒ ครั้ง อีชาย ๑ ครั้ง
๑๒. ขั้นเก้า (อีคอ) เล่นโดยกระโดดท่าอีหญิงครั้งเดียว
๑๓ ขั้นสิบ (อีหู) เหมือนขั้นเก้า
๑๔ ขั้นสิบเอ็ด (อีหัว) กระโดดท่าหญิง ๑ ครั้ง มีตัวช่วยโดยใช้นิ้วก้อยเกี่ยวหนังยางลงมาพอสมควรแล้วกระโดดท่าอีหญิงข้าม
๑๕. ขั้นสิบสอง (อีธู) เป็นขั้นสุดท้ายในการเล่น มีการเล่น ๒ แบบ คือ ท่าตีลังกาเอาเท้าเกี่ยวหนังยางแล้วข้ามหนังยางไป และอีกท่าคือ ท่าคาราเต้ ใช้สันมือข้างที่ถนัดกดหนังยางลงมาพอสมควรแล้วข้ามด้วยท่าอีหญิง
การ เล่นแต่ละขั้น เมื่อจบแล้วให้เปลี่ยนผู้เล่นคนอื่นมาเล่นต่อ ถ้าในการเล่นแต่ละขั้นถ้าผู้เล่นในทีมที่เล่นผ่านจะมีสิทธิ์ใช้แทนเพื่อนที่ เล่นไม่ผ่านได้ แต่ถ้าหมดผู้เล่นในทีมแล้ว คือ เล่นไม่ผ่านหมดจะต้องไปจับแทนผู้เล่นอีกฝ่ายตรงข้าม
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
        เล่นได้ทุกโอกาสที่มีเวลาว่างและสภาพอากาศเหมาะสมและต้องการออกกำลังกาย หรือหย่อนใจ
คุณค่า / แนวคิด / สาระ
        เป็นการออกกำลังกายและเพิ่มพูนทักษะทางด้านยิมนาสติก และช่วยให้มีไหวพริบ รู้แพ้รู้ชนะ มีจิตใจแจ่มใส ช่วยสร้างความคิดสร้างสรรค์
ชื่อ:เตยหรือหลิ่น
ภาค:ภาคเหนือ
จังหวัด: ตาก
สถานที่เล่น
       ลานกว้าง ที่โล่งแจ้ง
อุปกรณ์
       ไม่มี
จำนวนผู้เล่น
        ๖-๑๒ คน
วิธีเล่น
        ขีด เส้นเป็นตารางจำนวนเท่ากับผู้เล่น (สมมติว่ามี ๖ คน) แล้วแบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งยืนประจำเส้น (ตามขวาง) อีกฝ่ายจะวิ่งผ่านแต่ละเส้นไปโดยไม่ให้เจ้าของเส้นแตะได้ เมื่อเริ่มเล่นคนที่ยืนประจำเส้นแรก พูดว่า ไหล หรือ หลิ่น ฝ่ายตรงข้ามก็เริ่มวิ่งผ่านเส้นแรกไปจนถึงเส้นสุดท้ายแล้ววิ่งกลับ ถ้าวิ่งกลับถึงเส้นแรกโดยไม่ถูกฝ่ายตรงข้ามแตะได้ก็พูดว่า เตย ก็จะเป็นฝ่ายชนะ
โอกาส
        เป็นการละเล่นพื้นบ้านที่เด็ก ๆ เล่นกันโดยทั่วไป

ชื่อ:เล่นตากระโดด
ภาค: ภาคเหนือ
จังหวัด :ตาก
สถานที่เล่น
        กลางแจ้ง และควรเป็นพื้นที่บริเวณกว้าง ๆ
อุปกรณ์
        ก้อนหิน หรือกระเบื้อง
จำนวนผู้เล่น
        ๔ คนขึ้นไป
วิธีเล่น
๑. ขีดช่องสำหรับกระโดดเป็น ๖ ช่อง ขนาดโตพอที่จะกระโดดเข้าไปยืนได้ แล้วแบ่งครึ่งช่องที่ ๓ ที่ ๕ สำหรับที่พัก และกลับหลังหัน จึงมีช่องทั้งหมด ๘ ช่อง แล้วเขียนหัวกระโหลกเล็ก ๆ ในช่องบนสุด
๒. ใช้อะไรเป็นเบี้ยก็ได้ แต่ควรเป็นของที่มีน้ำหนัก ถ้าใครโยนเข้าหัวกระโหลกที่เล็ก ๆ นั้น ก็จะได้เล่นก่อน
๓. โยนเบี้ยลงช่องที่ ๑ แล้วกระโดดขาเดียวข้ามช่องที่ ๑ เข้าไปยังช่องที่ ๒ แล้วกระโดด ๒ ขา เข้าไปในช่องที่ ๓ และ ๔ ให้เท้าข้างหนึ่งอยู่ช่องที่ ๓ อีกข้างหนึ่งอยู่ที่ช่องที่ ๔ จากนั้นกระโดดขาเดียว ต่อไปยังช่องที่ ๕ และ ๒ ขา ที่ช่องที่ ๖ และ ๗ ตามลำดับ กระโดดตัวกลับ หันหน้ากลับมาทางเดิม กระโดดขาเดียวมายังช่องที่ ๕ สองขาที่ช่องที่ ๓ และ ๔ ขาเดียวที่ช่องที่ ๒ และช่องที่ ๑ พร้อมกับก้มลงเก็บเบี้ยที่ช่องที่ ๑ จากนั้นก็กระโดดออกมา
๔. ถ้าเกิดเล่นช่องที่ ๑ แล้วก็เล่นช่องที่ ๒ โดยโยนเบี้ยให้อยู่ในช่องที่ ๒ แล้วกระโดดขาเดียวไปยังช่องที่ ๑ ข้ามช่องที่ ๒ ไปยืน ๒ ขาที่ช่องที่ ๓ และ ๔ กระโดดไปยืนขาเดียวที่ช่องที่ ๕ และ ๒ ขา ที่ช่องที่ ๖ และ ๗ แล้วหันตัวกลับทำอย่างเดียวกับตาแรก คือ ต้องกระโดดกลับมาเก็บเบี้ยแล้วจึงกระโดดออกไป ถ้าเกิดเล่นถึงช่องหัวกระโหลกบนสุด ให้กระโดดกลับตัวในช่องที่ ๖ และ ๗ แล้วก้มลงใช้มือลอดระหว่างขา เก็บเบี้ยในช่องกระโหลก เมื่อเก็บได้จึงกระโดดออกมาอย่างเดิม หากว่าเล่นทุกช่องหมดแล้วจะได้บ้าน ๑ หลัง จึงขีดกากบาทไว้กลางช่องต่อไป ใครจะเหยียบบ้านนี้ไม่ได้
โอกาส
       เป็นการละเล่นพื้นบ้านที่เด็ก ๆ เล่นกันโดยทั่วไป

ชื่อ: อีหึ่ม
ภาค: ภาคเหนือ
จังหวัด:ตาก
สถานที่เล่น
       สนามกลางแจ้ง
อุปกรณ์
       ไม้ยาวประมาณ ๕๐ เซ็นติเมตร และไม้ยาวประมาณ ๒๐ เซ็นติเมตร เรียกว่า ลูก อาจใช้ตะเกียบแทนก็ได้
จำนวนผู้เล่น
        ตั้งแต่ ๔ คนขึ้นไป ควรจะเป็นคู่กันด้วย
วิธีเล่น
        แบ่ง ผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย ๆ ละเท่ากัน เป่ายิงฉุบกันใครชนะเล่นก่อน ขุดหลุมน้อย ๆ เอาลูกพาดกลางหลุมไว้ใช้ไม้ยาว ๕๐ เซ็นติเมตร (ไม้วุด) งัดไม้ที่เป็นลูกหรือที่ยาว ๒๐ เซ็นติเมตรไปให้ไกลที่สุด แล้ววางไม้วุดปากหลุม ให้อีกฝ่ายที่ไม่ได้งัดโดยไม้ที่วุดไปให้มาถูกที่พาดไว้บนปากหลุม ถ้าวุดไม่ถูกก็ให้วุดไม้อีกครั้งจนกว่าจะถูก ถ้าถูกให้ผู้ที่เป็นฝ่ายโยนไม้มาปากหลุมแทน
โอกาส
        เป็นการละเล่นพื้นบ้านที่เด็ก ๆ เล่นกันโดยทั่วไป

ชื่อ: เต้นกำรำเคียว
ภาค: ภาคเหนือ
จังหวัด: นครสวรรค์
เต้น กำรำเคียว เป็นการละเล่นพื้นบ้านซึ่งเกิดขึ้นเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงประกาศเลิกทาส กำเนิดครั้งแรกที่บ้านสระทะเล ตำบลสระทะเล อำเภอพยุหคีรี จังหวัดนครสวรรค์ โดยหลวงศรีบุรีขวัญ เป็นผู้ประดิษฐ์เนื้อร้อง
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์ เคียวเกี่ยวข้าวกับรวงข้าว
         วิธี การเล่น ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงจะยืนอยู่ฝ่ายละครึ่งวงกลม แต่ละคนถือเคียวเกี่ยวข้าวและรวงข้าวไว้คนละมือ เมื่อการละเล่นเริ่มขึ้น ฝ่ายชายที่เป็นพ่อเพลงเป็นผู้เต้นออกไปกลางวงตามจังหวะปรบมือของลูกคู่และ ร้องเพลงเชิญฝ่ายหญิงว่า
มาเถิดเอย เอ๋ยละแม่มา มาหรือมาแม่มา มาเต้นกำย่ำหญ้ากันเสียในนานี้เอย
แล้วแม่เพลงจะรำออกมากลางวง ร้องโต้ตอบว่า
มาแล้วเอย เอยมาพ่อมา มาหรือมาพ่อมา มาหรือกระไรมาแล้ว พ่อพุ่มพวงดวงแก้ว น้องมาแล้วนายเอย
ชาย และหญิงจะเต้นรำคู่กันไป ผู้ยืนอยู่รอบ ๆ วงจะเป็นลูกคู่ร้องรับปรบมือและเต้นไปตามจังหวะเพลงแล้วเปลี่ยนคู่ใหม่ เช่นนี้เรื่อยไป บทเพลงที่ร้องมีหลายบท เช่น เพลงมา เพลงเดิน เพลงรำ เพลงบิน เพลงร่อนเพลงแถ เพลงย่าง เพลงย่อง เพลงยัก เป็นต้น ใครร้องเพลงอะไรก็ทำท่าไปตามเพลงนั้น
โอกาสที่เล่น
        หลังจากการเก็บเกี่ยวข้าว
คุณค่า
       ได้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน ผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าจากการทำงานหนัก

ชื่อ: การรำกลองยาว
ภาค: ภาคเหนือ
จังหวัด: นครสวรรค์
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์ กลองยาวและฆ้อง
        วิธี การเล่น ตีกลองยาวและฆ้องตามจังหวะ ผู้ที่รำจะรำตามเสียงดนตรีด้วยท่ารำที่สวยงามต่าง ๆและจะจบลงด้วยการต่อตัวขึ้นไปร่ายรำบนกลองยาว
โอกาสที่เล่น
       เล่นในงานรื่นเริงต่าง ๆ และงานทำบุญปีใหม่
คุณค่า
        ใช้เล่นเพื่อความสนุกสนาน และ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ศิลปะพื้นบ้านที่ดีงาม ของอำเภอพยุหคีรี จังหวัดนครสวรรค์

ชื่อ:รำโทนวง
ภาค: ภาคเหนือ
จังหวัด: นครสวรรค์
อุปกรณ์
        โทน ฉิ่ง ฉาบ กรับ
วิธีการเล่น
         แบ่ง ผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายชายและฝ่ายหญิง เมื่อนักดนตรีขึ้นเพลงแล้วฝ่ายชายจะไปโค้งฝ่ายหญิงให้ออกมารำ การรำนั้นก็จะรำเป็นวงกลมเป็นคู่ ๆ แล้วแสดงท่ารำไปตามจังหวะของเพลงและเนื้อร้องเมื่อจบเพลงหนึ่งแล้วนักดนตรี ก็จะขึ้นเพลงต่อไป
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
         เล่นงานชุมนุมรื่นเริงต่างๆ หรืองานนักขัตฤกษ์ เช่น วันสงกรานต์
คุณค่า/แนวคิด/สาระ
          เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินและเพื่อสมานไมตรีระหว่างชาวบ้าน

ชื่อ:ซิกโก๋งเก๋ง
ภาค :ภาคเหนือ
จังหวัด: พะเยา
อุปกรณ์
          โก๋ งเก๋งทำจากไม้ไผ่ ท่อนปลายของไม้รวก หรือไม้ซาง ตัดให้สูง ประมาณ ๒-๒.๕ เมตร ใช้มีดตัดเจาะกิ่งไผ่ที่เป็นปมอยู่ข้อตาไผ่ออกให้หมด แต่ต้องเหลือไว้ตรงข้อแรกของไม้ไผ่ให้เป็นปมอยู่ เหลาข้ออื่นๆ ให้เรียบเพื่อสะดวกในการจับถือ หาปล้องไม้ไผ่ที่ใหญ่กว่า ๒ ท่อนแรก ตัดให้เหลือข้อปล้องไว้ด้านหนึ่งยาวประมาณ๑๕-๓๐ เซนติเมตร จำนวน ๒ ท่อน เจาะรู ๒ ด้าน เสร็จแล้วนำไปสวมเข้ากับไม้ ๒ ท่อนแรก โดยให้ไม้ที่สวมนั้นไปค้างติดอยู่กับข้อตาไผ่ที่เหลือไว้ แล้วใช้ผ้าพันตรงไม้ ๒ ท่อนประกบกันให้แน่น
วิธีการเล่น
         ใช้ มือถือไม้โก๋งเก๋งตั้งขึ้นให้ตรง แล้วค่อยก้าวเท้าใดเท้าหนึ่ง ขึ้นเหยียบบนไม้โก๋งเก๋ง ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เท้าซ้ายขึ้นก่อน แล้วก้าวเท้าขวาตามตั้งตัวให้สมดุลแล้วค่อย ๆ ก้าวเท้าใดเท้าหนึ่งออกไป ถ้าล้มก็ขึ้นใหม่เดินใหม่จนคล่อง
โอกาส
          การ ซิกโก๋งเก๋ง เป็นการละเล่นพื้นบ้านของเด็ก ๆ ที่เล่นกันเพื่อความสนุกสนาน ปัจจุบันการซิกโก๋งเก๋งจะเหลือน้อย นอกจากจะเป็นการแสดงหรือสาธิต และเป็นกีฬาของชาวเขาที่ใช้ทำการแข่งขันอยู่ซิกโก๋งเก๋งเกิดขึ้นในชนบท ซึ่งในสมัยก่อนถนนหนทางไม่สะดวกเป็นโคลนเป็นฝุ่น เมื่อเดินด้วยเท้าธรรมดา จะทำให้เกิดโรคเท้าขึ้น ชาวล้านนาเรียกว่า หอกินตีน ชาวชนบทล้านนาถึงคิดหาวิธีการที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้เท้าเปื้อนโคลนฝุ่นและ เชื้อโรค จึงคิดทำโก๋งเก๋งออกมาเพื่อใช้เดิน
ชื่อ: บ่าขี้เบ้าทราย
ภาค :ภาคเหนือ
จังหวัด: น่าน
อุปกรณ์
๑. กองทราย
๒. ลูกขี้เบ้าทราย ลูกขี้เบ้าทำมาจากทรายที่ละเอียดพอควร หากเป็นทรายหยาบมักจะไม่ค่อยแข็งแรงเท่าที่ควร ลูกขี้เบ้ามี
วิธีทำ
๑.๑ นำทรายที่ละเอียดพอมาหนึ่งกำมือ เอาน้ำใส่ในทราย พอปั้นเป็นรูปกลม ๆ ได้ น้ำไม่ควรมากเกินและน้อยเกินไป เพราะการปั้นทรายให้เป็นรูปกลม ๆ ต้องใช้น้ำให้พอเหมาะ
๑.๒ พอปั้นทรายให้เป็นรูปกลม ๆ แล้ว นำทรายนั้นมาคลุกกับทรายอีกจนแข็ง หาก ทำให้เนื้อทรายผิวนอกเกิดสีผิวคล้ำเข้มกว่าผิวปกติ จะแข็งมากกว่าลูกอื่น ๆ และจะให้แข็งขึ้นไปอีกก็ต้องนำไปฝังดินหรือทรายให้นานกว่า ๔ - ๕ วันขึ้นไป
วิธีการเล่นลูกขี้เบ้า มีอยู่ ๒ วิธี คือ
๑. เล่นแบบ ๒ ลูก คือ ในกองทรายให้ขุดหลุมลงไปให้มีทางยาวเป็นหนึ่งทาง ให้ตรงกลางหลุมลึกกว่าตรงปลายหลุม แล้วให้ลูกขี้เบ้าของเด็กสองคนมาชนกัน หากใครเป็นฝ่ายแตกฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายแพ้ไปทำมาเล่นใหม่
๒. เล่นแบบ ๔ ลูก คือ การเล่นแบบที่ ๑ แต่มีลูกขี้เบ้าทรายมากกว่า ๒ นี้ ผู้เล่นต้องขุดหลุมเป็นทางมากกว่า ๑ ทางขึ้นไป เช่น เล่นแบบ ๔ ลูก ผู้เล่นก็มี ๔ คน ลูกขี้เบ้าคนละลูก ขุดหลุมทรายออกให้เป็นรูปกากบาท ให้ตรงกลางหลุมลึกกว่าตรงปลายหลุม แล้วผู้เล่นก็นำลูกขี้เบ้าทั้ง ๔ คน นำเอามาวางบนปากหลุม ทุกคนก็ปล่อยลงไปพร้อมกัน ดูว่าลูกใครแตกน้อยที่สุดผู้นั้นก็ชนะ
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
          ลูก ขี้เบ้าทำมาจากทราย ฉะนั้นการเล่นลูกขี้เบ้าก็จะต้องเล่นในที่ที่มีทราย เวลาเด็กไปเล่นกันในวัดก็มักจะพบเด็กเล่นลูกขี้เบ้ากัน แต่พอระยะหลัง ๆ กองทรายที่จะให้เด็กเล่นกันหาไม่ค่อยได้ลูกขี้เบ้าจึงหาดูได้ยากขึ้น จึงมักจะเล่นกันในช่วงสงกรานต์ที่มีการขนทรายเข้าวัด
คุณค่า / แนวคิด / สาระ
         บ่า ขี้เบ้าทราย เป็นการละเล่นที่ฝึกความคิดที่จะสร้างให้ลูกบ่าขี้เบ้าแข็งแรง เป็นการฝึกความอดทนและทำให้กล้ามเนื้อส่วนแขนขาใช้งานและบริหารให้แข็งแรง ขึ้น และทำให้เป็นผู้ยอมรับในกติกาการเล่น

 ชื่อ: การแข่งขันเรือบก
ภาค: ภาคเหนือ
จังหวัด: พิษณุโลก
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
         การแข่งขันเรือบกมีอุปกรณ์และวิธีเล่นดังต่อไปนี้
อุปกรณ์
          ไม้ไผ่ขนาด ๘ เมตร แทนลำเรือแข่งขนาดใหญ่ และผู้แข่งขัน ๙ คน และไม้ไผ่ ๕ เมตร แทนลำเรือแข่งขนาดเล็กและผู้แข่งขัน ๖ คน
วิธีการเล่น
๑. รับสมัครเรือแข่งขนาดอายุ ๙-๑๐ ปี และ ๑๐-๑๔ ปี ให้ผู้แข่งขันเรือบกแต่ละขนาด ยืนคร่อมลำไม้ไผ่ แข่งครั้งละ ๒ ลำ
๒. ปล่อยเรือบกออกไปพร้อมกันโดยให้วิ่งในโคลนและจับเวลา
๓. เรือบกลำที่ชนะเลิศ ต้องชนะ ๒ เที่ยวในกำหนด ๓ เที่ยวซึ่งเป็น กติกาเดียวกับการแข่งขันเรือยาวทั่วไป
๔. ความสนุกสนานในการแข่งขันเรือบกอยู่ที่ผู้แข่งขันเรือบกในแต่ละลำจะต้องวิ่ง ลุยโคลนโดยพร้อมเพียงกัน ซึ่งถ้าผู้เข้าแข่งขันคนใดเสียจังหวะ หรือไม่พร้อมกับคนอื่น ๆ เรือบกก็จะพากันล้มลงคลุกโคลนตมแล้วทุกคนต้องวิ่งจนกว่าจะถึงเส้นชัย
โอกาสในการแข่งขันเรือบก
          แต่ เดิมบริเวณหลังวัดเนินกุ่ม ตำบลเนินกุ่ม อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลกมีลำคลองสามารถแข่งขันเรือยาวเป็นประจำทุกปี ต่อมาแม่น้ำลำคลองตื้นเขิน ชาวตำบลเนินกุ่ม จึงจัดการละเล่นพื้นบ้าน "การแข่งขันเรือบก" ขึ้นในงานประจำปีของวัดเนินกุ่ม ระหว่าง วันแรม ๑-๒ ค่ำ เดือน ๑๐ ของทุกปี (ประมาณเดือนกันยายน)
คุณค่าของการแข่งขันเรือบก
         เป็น การส่งเสริมการออกกำลังกาย ฝึกความขยัน อดทน มานะพยายาม เป็นการส่งเสริมความสามัคคีและฝึกเด็กให้รู้จักมีน้ำใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะและรู้อภัย
ชื่อ มังคละ
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
๑. กลองมังคละ เป็นกลองหนังหน้าเดียวขนาดเล็กทำจากไม้ขนุน หน้ากลองมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๕ นิ้ว หุ้มด้วยหนัง กลองยาวประมาณ ๑๐ นิ้ว
๒. ปี่ มีลักษณะคล้ายปี่ชวา ๑ เลา
๓. กลองสองหน้า ๒ ขนาด ขนาดใหญ่ เรียกว่ากลองยืน ขนาดเล็กเรียกว่า กลองหลอน ตีจังหวะขัดล้อกัน
๔. เครื่องประกอบจังหวะ ได้แก่ ฆ้อง ๓ ใบ แขวนอยู่บนคานหาม ฉิ่ง และฉาบใหญ่ ๒
วิธีการเล่น
         มี ผู้ถือหรือสะพายกลองไว้เบื้องหลัง ให้ผู้เล่นอีกคนถือหวายยาวประมาณ ๑๗ นิ้ว ๒ อัน แล้วเดินตีกลองไปตามจังหวะเมื่อตีจะเกิดเสียงดัง โกร๊ก ๆ
โอกาส
         มังคละ มักนิยมเล่นในงานมงคลต่างๆเพื่อความสนุกสนานครื้นเครง เช่น งานแห่นาค แห่กฐิน งานกลางแจ้งต่าง ๆ
สาระ
          มังคละ เป็นดนตรีพื้นบ้านในเขตภาคเหนือตอนล่าง เป็นที่นิยมกันมานาน มีหลักฐานว่าดนตรีมังคละเล่นกันมานานกว่า ๑๐๐ ปี เป็นการละเล่นพื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดพิษณุโลก

ชื่อ:การละเล่นไม้หึ่ง หรืออีหึ่ง
ภาค:ภาคเหนือ
จังหวัด :กำแพงเพชร
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
           อุปกรณ์ ใช้ไม้ ๒ ชิ้น คือ ไม้แม่ ทำด้วยกิ่งไม้ที่หาง่ายและเหนียว มีขนาด เส้น ผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑นิ้ว หรือใกล้เคียง ยาวประมาณ ๑ ศอก และ ไม้ลูก อาจนำจากไม้ท่อนเดียวกันด้านปลายของไม้แม่ยาวประมาณ ๑ คืบ ไม้ที่สามารถทำได้ เช่น ไม้มะขาม ไม้ฝรั่ง หรือไม้ไผ่ลำเล็ก ตัน คือ เป็นไม้ที่สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น นิยมใช้ไม้สดด้วยเป็นไม้ที่ยังมีน้ำหนักและเหนียวไม่เปราะเหมาะสมกับกระบวน การเล่น
วิธี การเล่น โดยการแบ่งฝ่ายละเท่า ๆ กัน เช่น ๒ ต่อ ๒ หรือ ๓ ต่อ ๓ ฝ่ายได้เล่นก่อนจะทำการขุดร่องที่พื้นดินแข็งให้เป็นร่องยาวประมาณ ๑ คืบ ลึก ๑ นิ้วครึ่ง เป็นรางคล้ายเรือ หรือ พอเพียงกับการงัดไม้ลูกได้จากนั้นฝ่ายเริ่มจะวางไม้ลูกขวางร่องหลุมที่ขุด ไว้ แล้วใช้ไม้แม่งัดออกไปข้างหน้าให้ได้ระยะไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามรับยากหรือโต้กลับยาก ขณะที่งัดไม้ลูกออกไปนั้น ฝ่ายรับสามารถใช้อุปกรณ์ใดก็ได้ปกป้องหรือตีโต้กลับไปยังหลุมงัด หรือใช้มือรับ จากนั้นฝ่ายเริ่มต้องวางไม้แม่ไว้ที่หลุม ฝ่ายรับจะโยนไม้ลูกให้กลับมาให้ถูกหรือปะทะให้ไม้แม่ที่วางอยู่เพื่อการชนะ ถ้าสามารถโยนลูกปะทะไม้แม่ก็จะได้กลับมาเป็นผู้เริ่มหรือผู้เสริฟ แต่ถ้าโยนไม่ถูกไม้แม่ฝ่ายเริ่มก็จะได้ดำเนินการขั้นตอนต่อไป คือ นำไม้ลูกขึ้นมาเดาะโดยใช้ไม้แม่เดาะไม้ลูกให้ได้จำนวนครั้งให้ได้มากที่สุด ถ้าเดาะได้ถึง ๓ ครั้งก็จะได้ตีลูกออกไปถึง ๓ ครั้ง การตีจะ
พยายาม ตีลูกออกไปยังฝ่าย ตรงข้ามให้ได้ระยะไกลที่สุดและไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามรับได้ เพราะถ้ารับได้ก็จะต้องแพ้และกลับมาเป็น ผู้เริ่ม แต่ถ้ารับไม่ได้ฝ่ายเริ่มเดิมก็จะให้ตีไม้ต่อไปจนให้ครบ ๓ ครั้ง และฝ่ายรับก็จะนำไม้ลูกนั้นวิ่งกลับมายังหลุมโดยกลั้นหายใจและออกเสียงมาทาง จมูกให้มีเสียง หึ่ม มาตลอดระยะการวิ่ง ถ้าเล่นฝ่ายละหลายคนก็สามารถส่งต่อไม้กันได้และผู้รับต่อก็จะต้องหึ่มต่อ เช่นกัน ห้ามขาดเสียงหึ่มในขณะวิ่งกลับถ้าขาดเสียงหึ่มก็ถือว่าฟาวล์หรือแพ้ในเกม นั้น ผู้เริ่มเดิมก็จะได้เล่น แต่ถ้าผู้หึ่มสามารถวิ่งหึ่มมาถึงหลุมได้ก็จะชนะได้เป็นผู้เริ่มเล่นใหม่โดย ใช้วิธีเดิม (การเล่นอาจแตกต่างกันไปบ้างในแต่ละท้องถิ่นได้)
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
           เป็น การเล่นของเด็กเล็กและเด็กโตประมาณ ๗ - ๑๕ ขวบ สามารถเล่นได้ทั้งเด็กหญิงและเด็กชายเล่นในยามว่างเพื่อสันทนาการ ความสนุกสนาน และแข่งขันกันในหมู่เล็ก สถานที่ใช้เล่นจะต้องมีบริเวณลานกว้างพอ เช่น สนามหน้าโรงเรียน ลานบ้านในหมู่บ้าน หรือลานวัด
คุณค่า / แนวคิด / สาระ
          เป็น การเล่นที่ง่ายไม่ต้องลงทุนซื้ออุปกรณ์และการเก็บรักษาอุปกรณ์ เนื่องด้วยไม้ที่ ใช้เล่นนิยมใช้ไม้สดเนื่องจากมีน้ำหนักในการใช้โยนหรือตีได้ไกล และเป็นการเล่นที่ต้องใช้ทักษะการงัด ให้ได้ไกล ดังนั้นจะต้องวางไม้ลูกให้ได้จุดกึ่งกลาง วางมุมไม้แม่ให้ได้องศาการดีดขึ้น ฝ่ายรับจะต้องมีทักษะการรับประสาทสั่งการความสัมพันธ์ของสายตาและอันตรายที่ อาจเกิดขึ้น แต่ละช่วงของการเล่นจะมีเทคนิคการเล่นที่ต้องใช้ความสังเกต และฝึกความชำนาญในโอกาสต่อไป เช่น คนที่เล่นได้ดีคือจะงัดให้ไกลหรือเดาะได้จำนวนครั้งได้มาก และเวลาไม้ตีลูกก็จะได้ไกลเนื่องจากในขณะตีนั้นจะต้อง ให้มีความสัมพันธ์กันระหว่างการปล่อยมือไม้ลูกและไม้แม่ให้ตรงจุดกึ่งกลาง ศูนย์กลางของน้ำหนัก เช่นเดียวกับการตีเทนนิส หรือแบดมินตัน หรือเบสบอลและฝึกความแม่นยำในการโยนกลับ หรือพัดลูกกอล์ฟบนกรีนหรือเปตอง

ชื่อ: การเส็งกลอง (การแข่งขันตีกลอง)
ภาค: ภาคเหนือ
จังหวัด: เพชรบูรณ์
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์ กลองสองหน้า ไม้กลอง
          วิธีการเล่น ผู้เล่นใช้ไม้กลองตีกลองเพื่อให้มีเสียงดัง การตัดสินจะพิจารณาจากเสียงกลองที่ได้มาตรฐาน และลีลาการตีกลอง
โอกาสหรือเวลาเล่น
          เล่นในงานประเพณีพื้นบ้าน งานเทศกาลต่าง ๆ เช่น งานบุญบั้งไฟ งานรื่นเริงประจำปี และงานเฉลิมฉลองต่าง ๆ
คุณค่า
          การ เส็งกลองเป็นการละเล่นพื้นบ้านที่มีคุณค่าอย่างยิ่งเพราะเป็นการสร้างเสริม ความสามัคคี ในหมู่คณะ ส่งเสริมการออกกำลังกาย สร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะหลาย ๆ ด้านประกอบกัน ได้แก่ ศิลปด้านการแสดง ดนตรีและการละเล่น รวมทั้งงานหัตถกรรม

ชื่อ: การละเล่นแมงตับเต่า
ภาค: ภาคเหนือ
จังหวัด: เพชรบูรณ์
        การ ละเล่นแมงตับเต่าเป็นการละเล่นพื้นเมืองชนิดหนึ่ง ซึ่งเล่นกันอยู่ในแถบพื้นที่ตอนเหนือของจังหวัดเพชรบูรณ์ คือ อำเภอหล่มสัก และอำเภอหล่มเก่า การละเล่นชนิดนี้เคยเป็นที่นิยมกันมากเมื่อสมัย ๕๐ - ๖๐ปีมาแล้ว คล้ายการแสดงลิเก ปัจจุบันได้พัฒนามาเป็นการแสดงเพื่อความบันเทิง
อุปกรณ์และวิธีเล่น
          การ ละเล่นแมงตับเต่าจะมีผู้เล่นจำนวน ๕ - ๑๐ คน ในอดีตผู้เล่นจะใช้ชายล้วน ปัจจุบันมีหญิงเข้ามาเป็นผู้เล่นด้วย การเล่นแมงตับเต่าจะเป็นการแสดงเพื่อความบันเทิง ผู้เล่นแต่งกายคล้ายลิเก บทร้องและบทเจรจาใช้ภาษาถิ่นกลุ่มภาษาหล่มซึ่งมีสำเนียงลาว ดังนั้นการ ละเล่นแมงตับเต่าบางครั้งจึงเรียกว่า ลิเกลาวเครื่องดนตรีใช้ประกอบการเล่น ได้แก่ ระนาด ๑ ราง กลอง ๑ ลูก แคน ๑ - ๒ เต้า ฉิ่ง ๑ คู่ พิณ ๑ ตัว ฉาบ ๑คู่ ซอปิ๊ป ๑ คัน (คล้ายกับซออู้แต่ใช้ปิ๊บขนาดเล็กแทนกะลามะพร้าวที่ใช้เป็นกระโหลกซอ)
สถานที่เล่น มีเวทีให้สำหรับผู้แสดง มีฉากกั้นวาดภาพด้วยสีน้ำมันเหมือนฉากลิเก จะมี ๑ - ๒ ฉากหรือจะมากกว่าก็ได้
เรื่อง ที่เล่น ใช้วรรณกรรมถิ่นอีสานเรื่องต่าง ๆ และเรื่องจากบทละคร เช่น ท้าวสีทน นางสิบสองท้าวสุริยวงศ์ การะเกด ท้าวก่ำกาดำ นางแตงอ่อน จำปาสี่ต้น พระเวสสันดร ท้าวผาแดง นางไอ่ ขุนทึง -ขุนเทือง นางผมหอม สังข์ศิลป์ชัย ลิ้นทอง สังข์ทอง
วิธีการเล่น
๑. ก่อนเล่นต้องเซ่นบูชาหรือไหว้ครูก่อนด้วยเครื่องเซ่นที่จัดเตรียมไว้
๒. ผู้เล่นทุกคนออกมาร่ายรำหน้าเวทีเรียกว่า แห่ท้าวแห่นาง ซึ่งเป็นการรำเบิกโรงก่อนที่จะเล่นเป็นเรื่อง
๓. เล่นเรื่องที่กำหนด โดยผู้เล่นที่ออกมาเล่นครั้งแรกทุกตัวต้องร้องขึ้นต้นด้วยบทไหว้ครู เพื่อเป็นการขอพรให้ผู้เล่นสามารถในการร่ายรำและขับลำโดยไม่ติดขัด จากนั้นจึงจะ แนะนำตัวเองเล่นเป็นใครในเรื่องนั้น
โอกาสที่เล่น
         เล่นในงานรื่นเริงทั่วไป ไม่จำกัดเวลา โอกาส
ประโยชน์
         ความเพลิดเพลิน สนุกสนาน คติสอนใจจากเนื้อเรื่อง

ชื่อ:รำเสื้อแขบลาน
ภาค: ภาคเหนือ
จังหวัด:เพชรบูรณ์
อุปกรณ์
๑. เสื้อ
๒. ใบลาน
๓. กลองปั้ง หรือกลองคู่ ๒ ลูก
๔. ฆ้องลูกใหญ่ ๑ ใบ
๕. ฉาบอันใหญ่ ๑ คู่
วิธีการเล่น
๑. ผู้รำจะสวมเสื้อแขบลาน (เสื้อแขนยาวสีกรมท่า คอกลม และนำใบลานแห้งมาเย็บติดกับตัวเสื้อทำเป็นลวดลายต่าง ๆ) หญิงจะนุ่งซิ่นมุกยาวแค่เข่า ชายก็จะใส่กางเกงขนาดครึ่งน่องหรือกางเกงขาก๊วย สวมเสื้อม่อฮ่อม ทั้งชายและหญิงจะใส่แว่นตาดำ
๒. ผู้รำเสื้อแขบลานนี้ จะรำเป็นคู่ ๆ ทั้งชายและหญิง ไม่จำกัดจำนวนและอายุ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับศรัทธาของผู้ที่จะรำเสื้อแขบลาน การรำก็จะรำไปตามจังหวะดนตรีซึ่งมี กลองปั้ง ฆ้องและฉาบ ซึ่งนักดนตรีนี้จะหามนำขบวนรำเสื้อแขบลาน พร้อมกับร้องเพลงเป็นภาษาหล่มสักเรียกว่า การเซิ้งกาพย์
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
         การ รำเสื้อแขบลานนี้ จะเล่นในเทศกาลเข้าพรรษา เทศกาลบุญบั้งไฟ โดยเฉพาะวันทำบุญบั้งไฟจะมีขบวนแห่เพื่อนำไปบวงสรวงเจ้าพ่อผาแดง เพื่อให้เจ้าพ่อผาแดงพอใจและบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลในขบวนดังกล่าวก็จะ มีรำเสื้อแขบลานด้วย
คุณค่า / แนวคิด / สาระ
          การ รำเสื้อแขบลานในเทศกาลบุญบั้งไฟ เป็นการรำบวงสรวงเจ้าพ่อผาแดงซึ่ง ชาวบ้านเคารพนับถือมาก เพื่อบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลเพียงพอแก่การทำการเกษตร ผู้รำเสื้อแขบลานก็จะไม่มีการบังคับให้รำแต่ผู้รำจะร่วมกันรำให้สนุก

ชื่อ: ค่าวเพลงซอดาววีไก่น้อย
ภาค :ภาคเหนือ
จังหวัดวแพร่
วิธีการเล่น
           เป็น บทร้อง คำประพันธ์ร้อยกรองภาคเหนือประเภทหนึ่ง ที่เล่าถึงตำนานดาวลูกไก่ ในการขับร้องค่าวเพลงซอนี้ จะมีลูกคู่รับบทตอนจบ แต่ละบท ว่า อื่อ... แล้วทวนวรรคสุดท้าย จึงนิยมเรียกว่าซอเพลงอื่อ
ทำนองเพลงซอนี้คล้ายทำนองเพลงซอพระลอ มีเนื้อร้องดังนี้
ก่อยฟังยังก่อนเต๊อะเจ้า ตามเก้าเหง้าค่าวนี้ออกจากในธรรม
ตี่เปิ้นกล่าวไว้ข้าเจ้าได้จื่อได้จำ ก่อนไก่ออกจากในธรรมเป๋นระบำเพลงอื่อ
(อื่อ....... มาเป็นระบำเพลงอื่อ)
ค่าวนี้เป๋นค่าวดาววีตี่เจ้าได้จำได้จื่อ ได้ตกแต่งแป๋งหื้อเป็นค่าวซอเพลง
ยังมีปู่ญ่าสองเฒ่าชราบ่กล้าบ่เกร่ง ฮอดถึงเดือนดับเดือนเป็งจำศีลกินตานบ่ขาด
(อื่อ.........จำศีลกินตามบ่ขาด)
ยังมีวันหนึ่งนั้นหนาเป๋นวันเดือนเป็งสะอาด ท่านเจ้าจักมากุมบาตรเฮาเองสังมาเป๋นตาน
ส่วนสองขาผัวเมียก็มาปรึกษากัน เฮาจะเอาข้าวกั๊วข้าวขันเฮาบ่มีสังสักอย่าง
(อื่อ........เฮาบ่มีสังสักอย่าง)
หลอนมหาเถรเจ้าเข้าบ้านมานั่ง เฮาจะเป๋นฟ้าวเป็นฟั่งเฮาเอาสังมาตาน
จักเอาผักไม้ตี่ไหนมาใส่อาหาร จักเอาลูกส้มของหวานเฮาซ้ำบ่มีสักหน่วย
(อื่อ........เฮาซ้ำบ่มีสักหน่วย)
เฮาจักเยี๊ยะฉันใดจา เฮาก็ชราซ้าฮ่วย ตี๋นมือก็สั่นด่วยๆว่าเฮาจักเยี๊ยะฉันใด
จักไปซื้อเอากาดหนตางก็ยาวก็ไกล๋ อี่ย่าก็จาร่ำไรจะเยี๊ยะฉันใดอี่ปู่
(อื่อ .......จะเยี๊ยะฉันใดอี่ปู่)
ส่วนสองขาผัวเมียก็มาปรึกษากันอยู่ ฝ่ายว่าตัวอี่ปู่วันพูกแม่เจ้าก่อนงาย
จักเอาไก่แม่ลูกน้อย ลุกเจ้าๆบ่หื้อได้ขวาย จักหื้ออี่ย่าอี่ยายคั่วไก่ห่อนึ้งใส่บาตร
(อื่อ........คั่วไก่ห่อนึ่งใส่บาตร)
ไก่แม่ลูกน้อยอยู่ยังกอนก็ได้ยินเสียงประหลาด หยังมาใจ๋ตกอกขาดชีวิตจักพรากเสียองค์
ซ้ำปายว่าลูกน้อยเปิ่นมามุ่งหมายใจ๋จ๋ง พูกเจ้าจักได้ต๋ายโหงตึงบ่ได้ขันเป๋นแน่
(อื่อ..........ตึงบ่ได้ขันเป๋นแน่)
อกเจ้าแม่อกลูกบ่ตันได้กล้าได้แก่ ฮ้องว่าเจ้าแม่นายแม่จักได้นิ่งม้วยเมือมรณ์
ก่อยฟังเตอะเนอลูกฮักแม่เจ้าจักสั่งจักสอน ยามเมื่อเดิ๊กออนจอนเลยบ่ได้นอนสักหลาด
(อื่อ.........เลยบ่ได้นอนสักหยาด)
วันพูกเจ้าก่อนงายชีวิตแม่เที่ยงจักขาด เปิ่นจักบุบแม่ห่อนึ่งใส่บาตรไว้เป๋นอาหารตานเติง
กั้นเปิ่นบุบแม่ห่อนึ่งใส่บาตรหื้อลูกเต้ากึ๊ดใจถึง ขอหื้อกึ๊ดใจรำเปิงผาถนาเอาเต๊อะลูก
(อื่อ.........ผาถนาเอาเต๊อะลูก)
ฟังแม่ไก่สั่งสอนเป๋นกำวอนถ้วนถูก กั้นเมื่อถึงวันพูกแม่จักได้ม้วยบรรลัย
ฟังกำสอนแม่เต๊อะลูกฮักจักอย่าไปแอ่วไกล๋ อย่าเขี่ยเต๋าฟืนเต๋าไฟอย่าขึ้นครกมองหลองข้าว
(อื่อ..........อย่าขึ้นครกมองหลองข้าว)
อย่าหื้อเปิ่นบุบเปิ่นตี๋เปิ่นค่ำราวีโศรกเศร้า ฟังแม่ก่อนเต๊อะเจ้าอย่าได้ขึ้นหอขึ้นเฮือน
หื้อเซาะกิ๋นตามใกล้ๆ กิ๋นตามหมู่ไฮ่หมู่สวน กิ๋นตามปื้นหอปื้นเฮือนเขี่ยตามคอกควายในไฮ่
(อื่อ.........เขี่ยตามคอกควายในไฮ่)
อย่าแอ่วนอกบ้านนอกจองกลั๋วแฮ้งก๋าปะใส่ บ่มีไผเกิ๊ดใผไล่บ่เหมือนแม่เจ้านายมี
หื้อผ่อเอาเต๊อะเจ้าอย่าได้โศรกเศร้าโศกี๋ หื้อลูกฮักอยู่ดีดีอย่าเขี่ยเก้าปูเก้าหมาก
(อือ่........... อย่าเขี่ยเก้าปูเก้าหมาก)
วันพูกเจ้าก่อนงายชีวิตแม่เที่ยงจักจาก แม่จักได้พลัดได้พรากเสียจากเจ้าทั้งปวง
ก่อนฟังเนอลูกฮักอย่าไปแอ่วไกล๋แอ่วก๋วง หลอนเป๋นฝนใหญ่ลมหลวงบ่มีไผปาเจ้าลน
(อื่อ..........บ่มีไผปาเจ้าลน)
ยามเมื่อเข้าเล้าเข้าฮังปีกหางลูกแม่เข้าส่น แม่กลั๋วหมอกเหมยตกหล่นกลั๋วลูกเต้าหนาวเย็น
ย้อนลูกตัวยังน้อยแสนต่ำต้อยหมองเข็ญ แม่กลั๋วมีกรรมมีเวรฮอกเห็นจะมาปะใส่
(อื่อ.......... ฮอกเห็นจะมาปะใส่)
แม่เลี้ยงนายมาบ่ใหญ่ก็กองใคร่หื้อใหญ่ แม่เอาปีกปกอกใส่เสียจุเมื่อคืนวัน
แม่เอาปีกปกหางหุ้ม ก็กุ้มตังหกตวยกั๋น แฮ้งก๋าบินมาแม่หันแม่เอถวาปีกเผ่อ
(อื่อ........แม่เอถวาปีกเผ่อ)
อกเจ้าแม่อกบ่มีไผปกไผเผ่อ อยู่มากู่เมื่อกู่เมื่อแม่ปาลูกเข้าเล้าเข้าฮัง
ก่อนฟังเนอลูกฮักหื้อเจ้าฮักกั๋นแปงกั๋น ยามเมื่อเข้าเล้าเข้าฮังเจ้าอย่าได้ขันได้แตก
(อื่อ..........เจ้าอย่าได้ขันได้แตก)
เจ้าอย่าได้ไกล๋กั๋นต่างตั๋วต่างนอนผิดแปลก ยามฝนตกฟ้าแยกอย่านอนหลังเล้าหลังคา
แม่กลั๋วขโมยโจรฮ้ายมันจ่างมาเซาะสอดหา กลั๋วยับเอาหกบุตต๋าแล้วกำคะนังบุบฟาด
(อื่อ.........แล้วกำคะนังบุบฟาด)
ส่วนว่าไก่น้อยตั้งหกก็น้ำต๋าตกบ่ขาด เอ็นดูแม่เหลือขนาดหากก๋รรมปามา
จักต๋ายละลูกไว้เป็นเหยื่อฮุ้งเหยื่อก๋า ปากันแล่นตวยหาปูนเวทนาไห้สั่ง
(อื่อ........ปูนเวทนาไห้สั่ง)
ส่วนสองขาผัวเมียก็มาเป๋นฟ่าวเป๋นฟั่ง ก็มาจุกบ่นั่งเมียมันเป็นคนดังไฟ
หื้อสูขะใจ๋สะน่อยมอกหันลายมือใสใส ตีนฟ้ายกรุ่งเรืองไรมันบ่กลั๋วก๋รรมวิบาก
(อื่อ...........มันบ่กลั๋วก๋รรมวิบาก)
ยามเมื่อไก่แม่มารดาจักมรณาม้วยจาก ก็ดูเป็นก๋ารลำบากดีดดิ้นเสือกซ่นไปมา
ส่วนไก้น้อยตั้งหกหันเปิ่นผ่าอกแม่มาต๋า ก็ปากั๋นหกเข้าหาวิดสู่ก๋องไฟตวยแม่
(อื่อ..........วิดสู่กองไฟตวยแม่)
ส่วนไก่หมู่เจ็ดตั๋วสมปานดีใกล้แก่ ตึงลูกตึงแม่เมื่อม้วยชาติเลี้ยงอินทรีย์
ป้นเสียจากไก่แล้วบ่ได้โศรกเศร้าโศกี๋ เพราะเพื่อบุญเปิ่นมีเกิดเป๋นดาววีใสสว่าง
(อื่อ...........เกิดเป๋นดาววีใสสว่าง)
อยู่ผาสาทแก้วคนหลังเรื่อเรืองงามแจ้งสว่าง มีนางขับจ่างฟ้อนสนุกม่วนต้องกามา
อยู่เสวยเครื่องทิพย์บ่ได้โศรกเศร้าโศก๋า ต๋ามท่านรำเปิงมาอะเนกะจาป๋างก่อน
(อื่อ..........อะเนกะจาป๋างก่อน)
โอกาส
          นิยมนำมาขับร้อง ในงานชุมนุมหรืองานฉลองงานประเพณีหรืองานบุญต่างๆ หรือขับร้องเพื่อเป็นการสอนลูกหลาน
คุณค่า/แนวคิด
           เป็น บทประพันธ์ที่มีคำสอนให้ประพฤติแต่สิ่งที่ดี ไม่ทำชั่ว สอนเรื่องบาปบุญคุณโทษ และยังสะท้อนภาพวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยในชนบทได้เป็นอย่างดี

ชื่อ: ซอพระลอ
ภาค: ภาคเหนือ
จังหวัด: แพร่
อุปกรณ์และวิธีเล่น
          ซอ พระลอ เป็นการขับกล่อมบทเพลงหรือบทซอประกอบดนตรีพื้นบ้านคือปี่จุม มีผู้แสดงประกอบด้วยช่างปี่ ๒-๓ คน ช่างซอหญิงชายรวม ๒ คน บทซอพระลอเป็นบทประพันธ์ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดแพร่ อันเป็นวรรณกรรมอมตะ เนื้อร้องเป็นการยอพระเกียรติพระมหากษัตริย์ บทพรรณนาความงามของพระธิดาพรรณนาความงามของธรรมชาติป่าเขาลำเนาไพร ทำนองการร้องใช้ทำนองเดียวกับเพลงซอล่องนาน นอกจากจะมีการขับเพลงซอประกอบดนตรีแล้ว อาจจัดให้มีการฟ้อนรำประกอบ
ตัวอย่างเนื้อร้อง ดังนี้
สองปี่เลี้ยงแม่งามสวย นางรื่นนางโรยสองกู่สร้าง ลงจากจ้างต้องเดินเตียว
หมอแก่ค้าวนำสองเฉลียว สามเดินเตียวเข้าดงป่าไม้…….. (ดนตรีรับตอนที่ ๑)
เหลียวผ่อเหนือวันตกออกใต้ ก็หันเป็นต้งเป็นนา ผ่อภูเขาเป็นเงาเมฆฝ้า
หัวใจ๋มัวมืดกุ้มสว่าง ……(ดนตรีรับตอนที่ ๒)
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
           นิยมจัดแสดงในงานมงคลฤกษ์สำคัญต่างๆ งานต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง งานเลี้ยงขันโตก งานสมโภชต่างๆ
คุณค่า / แนวคิด / สาระ
            การ แสดงมีความไพเราะสวยงามน่าชม สร้างความบันเทิง เนื้อหาทำให้มองเห็นความซาบซึ้งของกวีที่มีต่อพระมหากษัตริย์และธรรมชาติ และแสดงถึงภูมิปัญญาความสามารถที่สูงลึกซึ้งของกวีเป็นอย่างดี ควรมีการสืบทอดรักษาเอาไว้ให้เป็นมรดกของลูกหลานสืบไป
ชื่อ: หมากข่าง
ภาค: ภาคเหนือ
จังหวัด:แม่ฮ่องสอน
อุปกรณ์และวิธีเล่น
         อุปกรณ์ มะข่าง ทำจากไม้กลึงเกลาให้กลม ขนาดกำมือ จำนวน ๒๐-๓๐ ลูก สะบ้า ๑๐ ลูก ลานดินกว้างขนาด ๕x๑๐ เมตร
วิธี เล่น การเล่นจะแบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ข้าง แต่ละข้างไม่จำกัดว่าจะเป็นหญิงหรือชาย หรือทั้งหญิงและชายปนกัน ขอให้มีข้างละเท่ากันเท่านั้น แต่ละข้างจะมีอุปกรณ์ในการเล่น คือ หมากข่าง หรือลูกทอยข้างละ ๕-๑๐ ลูกเท่านั้น และมีลูกสะบ้า ๕ ลูก ตั้งเป็นรูปกากบาทให้ห่าง จากอีกข้างแล้วแต่จะตกลงกัน