วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

การละเล่นภาคกลาง

ชักเย่อ                                    
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
วิธีการเล่น
แบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย ๆ ละกี่คนก็ได้ตามแต่จะตกลงกัน เมื่อแบ่งพวกได้แล้วก็ขีดเส้นแบ่งแดน หัวแถว (ถ้าเป็นชายเรียกพ่อหลัก ถ้าเป็นหญิงเรียกแม่หลัก) ของทั้งสองฝ่ายเหยียดแขนจับไม้ยึดแนวขนานกับพื้นทั้งสองมือ ไม้จะนอนขนานกับเส้นแบ่งแดน ลูกน้องของแต่ละฝ่ายเกาะเอวหัวแถวเรียงต่อ ๆ กัน เริ่มเล่นต่างฝ่ายพยายามดึงให้ฝ่ายตรงข้ามหลุดล้ำเข้ามาในแดนตน ฝ่ายใดหลุดล้ำถือเป็นฝ่ายแพ้ เมื่อแพ้ทั้งสองฝ่ายก็จะเริ่มต้นเล่นเพลงระบำกัน พอจบก็เริ่มชักเย่อกันใหม่
 
 
สะบ้าล้อ
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์

-สะบ้า ตั้ง (สะบ้าแก่น) ซึ่งเป็นเมล็ดพืชชนิดหนึ่งซึ่งมีลักษณะเป็นเถา ชื่อว่า เถาสะบ้า เป็นพันธุ์ไม้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น มีฝักยาว ภายในมีเมล็ดสีน้ำตาลเข้ม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ ๕ เซนติเมตร
-สะบ้าล้อ นิยมทำจากไม้เนื้อแข็งประเภทไม้ประดู่ นำมากลึงเป็นรูปกลมแบน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๖-๘ เซนติเมตร มีลายเป็นเส้นวงกลมซ้อน ๆ กันหลายวง เรียกว่าด้านหงาย ด้านที่เป็นพื้นเรียบ เรียกว่า ด้านคว่ำ
วิธีการเล่น
สะบ้าล้อจะแบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายละกี่คนก็ได้ โดยทั่วไปจะประมาณ ๗ คน สนามที่ใช้ต้องเป็นดินอัดแน่นขนาดกว้าง ๗ X ๑๔ เมตร ฝ่ายใดจะเป็นผู้เล่นก่อน-หลัง ขึ้นอยู่กับการตกลงกันก่อนเล่น ผู้เล่นก่อนจะลงมือเล่นไปตามท่าที่กำหนด ผู้เล่นทีหลังจะเป็นผู้เฝ้าดูอยู่ใกล้กับแถวสะบ้าตั้ง ให้ฝ่ายตรงข้ามเล่นไปตามกติกา ท่าที่นิยมเล่นมีอยู่ ๗ ท่า ดังนี้
๑.ท่าล้อนิ่ง นำสะบ้าวางบนมือแล้วล้อไปข้างหน้า เมื่อสะบ้าหยุดล้อ ให้ผู้เล่นเอาส้นเท้าวางบนสะบ้าแล้วหยิบสะบ้าล้อขึ้นมาวางบนเข่าดีดให้ถูก สะบ้าตั้ง
๒.ท่าล้อปากเป่า ทำเช่นเดียวกับท่าล้อนิ่ง แต่ต้องวิ่งตามไปเป่าสะบ้าด้วย เมื่อสะบ้าหยุด ให้ดีดเช่นเดียวกับท่าที่ ๑
๓.ท่าแพนดีด นำสะบ้าล้อวางบนมือให้ด้านหงายขึ้น ใช้มือทอยไปข้างหน้า สะบ้าหยุดที่ใด ให้ดีดเช่นเดียวกับท่าที่ ๑
๔.ท่าหกโนนดีด ใช้ เท้าทั้ง ๒ ข้างหนีบลูกสะบ้าให้อยู่ระหว่างส้นเท้า โน้มตัวลงเอามือทั้งสองข้าง เท้าพื้น ยกส้นเท้าสะบัดให้สะบ้าข้ามศรีษะไป เมื่อล้อไปหยุดที่ใดให้ดีดเช่นเดียวกับท่าที่ ๑
๕.ท่าหกโนนพ้น ทำเช่นเดียวกับท่าที่ ๔ แต่ต้องทำให้สะบ้าล้อเลยแถวสะบ้าตั้ง
๖.ท่าหนึ่งรองหงาย เอาสะบ้าล้อวางบนพื้นดินให้ด้ายหงายขึ้น หาเศษอิฐ หิน เศษไม้มาหนุนให้มุมด้านใดด้านหนึ่งกระดกขึ้น แล้วใช้นิ้วหัวแม่เท้าทั้ง ๒ ข้างเกี่ยวกัน ดีดสะบ้าไปข้างหน้า ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๓ ให้ถูกสะบ้าตั้งพอดี
๗.ท่าหนึ่งรองคว่ำ ทำเช่นเดียวกับท่าที่ ๖ แต่วางสะบ้าล้อคว่ำ
กติกาการเล่น
.การจองคู่ ตกลงเลือกเล่นก่อน-หลัง โดยโยนสะบ้าหงาย-คว่ำ หรืออื่น ๆ
๒.การตั้งสะบ้า เป็นหน้าที่ของฝ่ายตรงข้ามที่รอเล่น
๓.การใช้คู่ คือการทำแทนเพื่อนที่ยิงสะบ้าตั้งไม่ถูก
๔.การดีดสะบ้าล้อให้ผู้เล่นนั่งบนส้นเท้าของตนเองข้างหนึ่ง เข่าอีกข้างหนึ่งยกขึ้นเหนือพื้นประมาณ ๑ ฟุต นำสะบ้ามาวางบนเข่าใช้นิ้วดีดให้ถูกลูกสะบ้าตั้งของตนเอง
๕.การทำเน่า หรือ ริบ คือ การที่ผู้เล่นทำผิดกติกา เช่น ยิงสะบ้าตั้งของผู้อื่น ล้อสะบ้าล้อเกิน แถวสะบ้าตั้ง เป็น
 
 
หลุมเมือง
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
วิธีการเล่น

ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายนั่งอยู่คนละข้างหลุม (จำนวนหลุมมีไม่จำกัด) ตกลงกันว่าจะกองทุนคนละเท่าใด เอาเบี้ยหรือสิ่งอื่นใช้แทนเบี้ยมารวมกัน แล้วหยอดใส่หลุมไว้หลุมละเท่าๆ กันแต่ หลุมหน้าผู้เล่นทั้งสองต้องมากกว่าหลุมอื่น ซึ่งเรียกว่า หลุมเมือง เมื่อเริ่มเล่นฝ่ายใดเริ่มก่อนจะหยอดเบี้ยใส่หลุมไปเรื่อยๆ ตามลำดับจนหมดเบี้ย เมื่อหมดเบี้ยในมือก็หยิบเอาเบี้ยในหลุมถัดไปหยอดต่อทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพบหลุมว่าง ผู้เล่นคนแรกจึงมีสิทธิกินเบี้ยทั้งหมดในหลุมถัดไป (ถัดจากหลุมว่าง) ผู้เล่นคนที่สองก็จะดำเนินการเล่นเหมือนคนแรก เมื่อพบหลุมว่างและกินเบี้ยหลุมถัดไป จึงผลัดกันเล่นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหมดทุนเลิกไป ผู้อื่นก็จะมาเล่นแทน
 

การแข่งขันวัวลาน
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
วิธีการเล่น

ชาว บ้านจะนำวัวมาวิ่งแข่งกันเป็นวงกลมในลานที่กำหนด โดยมีเสาเกียดซึ่งปักอยู่กลางถนนเป็นศูนย์กลาง ผูกเชือกพรวนของวัวแต่ละตัวเรียงกันตามลำดับ จากในเสาเกียดออกมาถึงริมลาน รวมจำนวน ๑๙ ตัว ซึ่งเจ้าของพวงวัวแต่ละพวงก็จะตระเตรียมวัวของตนมาทั้งวัวนอกและวัวในหรือ วัวรอง
วัวรองหรือวัวใน จะมีทั้งหมด ๑๘ ตัว เป็นส่วนใหญ่ เจ้าของพวงวัวจะผูกวัวตามเชือกพรวนจากเสาเกียดกลางลานออกมา ตัวที่ฝีเท้าจัด แข็งแรง จะอยู่ด้านริมเชือกพรวน เป็นตัวที่ ๑๖, ๑๗, ๑๘ เพื่อเอาไว้วิ่งแข่งกับวัวนอกของพวงอื่นที่จะนำมาทาบประกบเป็นตัวที่ ๑๙
วัวนอก คือ วัวตัวที่เจ้าของพวงวัวถือว่าเก่งที่สุด มีกำลังมากและฝีเท้าจัด จะนำมาทาบกับวัวในของพวงวัวอื่น ผูกทับเป็นตัวที่ ๑๙ อยู่นอกสุดของลานเพื่อจะได้วิ่งแข่งกันเอาชนะวัวรองให้ได้ในการแข่งขันแต่ละ เปิด ซึ่งแน่นอนว่าวัวตัวนอกสุดที่เรียกว่าวัวนอกนี้จะเป็นวัวที่ต้องวิ่งทำระยะ ทางไกลที่สุดและมีฝีเท้าจัดที่สุด
ถ้าวัวนอกวิ่งแซงวัวรองได้แล้วสามารถลากวัวรองตามไปอย่างไม่เป็นขบวนจนดิ้น หลุดขาดไป นั่นหมายถึงวัวนอกชนะ แต่ถ้าวัวรองวิ่งแซงนำวัวนอกได้วัวรองก็ชนะไป แต่ถ้าไม่สามารถเอาชนะกันได้ก็ถือว่าเสมอ
 
 
ตะกร้อลอดบ่วง
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
ลักษณะของห่วงและลูกตะกร้อ

ลูกตะกร้อที่ใช้มี ๓ ขนาด
๑.ขนาด ๑๖๐ กรัม ใช้สาน ๘ เส้น
๒.ใช้แข่งเซปัคตะกร้อ ขนาด ๑๘๐ กรัม ใช้สาน ๘ เส้น
๓.ใช้แข่งตะกร้อลอดบ่วง ขนาด ๑๙๐-๒๐๐ กรัม
ขนาดของห่วง เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๘ นิ้ว นำเหล็กมางอเป็นวงกลม ๓ วง ผูกติดกันและใช้เชือกสานเป็นตาข่าย ในสมัยก่อนจะเรียกว่า "ห่วงลาว" ความกว้างของห่วงจะไม่เท่ากัน คือ
ห่วงที่ ๑ เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๖ นิ้ว
ห่วงที่ ๒ เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๔ นิ้ว
ห่วงที่ ๓ เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๔ นิ้ว
ห่วงลาวจะนำมาผูกติดกันเป็นเส้นตรง โดยมีตาข่ายอยู่ด้านในโดยวัดความสูงของก้นห่วงอันสุดท้ายจากพื้น ๗ เมตร และมีการนำดอกไม้ประดิษฐ์มาประดับเพื่อให้เกิดความสวยงาม
แต่ละท่าของตะกร้อจะมีคะแนนต่างกัน
๑.ลูกหน้าเท้า (ลูกแปร) ๓ คะแนน
๒.ลูกหลังเท้า ๑๕ คะแนน
๓.ลูกเข่า ๖ คะแนน
๔.ลูกศีรษะ ๑๐ คะแนน
๕.ลูกไหล่ ๑๒ คะแนน
๖.ลูกข้าง ๖ คะแนน
๗.ลูกบ่วงมือ ๑๒ คะแนน
๘.ลูกแข้ง ๖ คะแนน
๙.ลูกตัดไขว้ ๒๕ คะแนน
๑๐.ลูกไขว้หน้า ๒๕ คะแนน
๑๑.ลูกขึ้นม้าธรรมดา ๘ คะแนน
๑๒.ลูกขึ้นม้าบ่วงมือ ๑๕ คะแนน
๑๓.ลูกพับเพียบธรรมดา ๘ คะแนน
๑๔.ลูกพับเพียบบ่วงมือ ๑๕ คะแนน
๑๕.ลูกไขว่เข่า ๒๐ คะแนน
๑๖.ลูกตบไขว้ ๑๕ คะแนน
๑๗.ลูกไขว้ส้น ๒๐ คะแนน
๑๘.ลูกไขว้ส้นบ่วงมือ ๒๕ คะแนน
๑๙.ลูกศอกหลัง ๑๐ คะแนน
๒๐.ลูกข้างหลังธรรมดา ๑๕ คะแนน
๒๑.ลูกข้างหลังบ่วง ๒๐ คะแนน
๒๒.ลูกตบหลัง ๒๐ คะแนน
๒๓.ลูกตบหลังบ่วง ๒๕ คะแนน
๒๔.ลูกส้นหลังตรง ๓๐ คะแนน
๒๕.ลูกส้นหลังบ่วง ๓๕ คะแนน
๒๖.ลูกพับหลังบ่วง ๔๐ คะแนน เป็นลูกที่คะแนนสูงสุด
 
 
หุ่นกระบอก
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์

ตัวหุ่น คนเชิด และโรงหุ่น
ตัวหุ่นมีส่วนประกอบคือ
-ศีรษะหุ่น แกะจากไม้เนื้อเบา เช่น ลำพู ไม้นุ่นทองพราว ไม้โมก หรือไม้สัก แล้วปั้นแต่งหน้าด้วยรักหรือดิน ปิดด้วยกระดาษสาที่ฉีกเป็นชิ้นเล็กๆ ทาแป้งเปียกหรือกาว ๓ ชั้น จนเรียบแน่น ทาฝุ่นสีขาว ๓ ชั้น รอจนแห้งสนิท แล้วใช้ใบลิ้นเสือ หรือกระดาษทรายน้ำขัดทั่วหน้าหุ่น
-ศีรษะหุ่นที่เป็นตัวตลก จะทำปากอ้าได้ หุบได้ โดยมีเชือกดึงจากหน้าและมีห่วงอยู่ปลายเชือกสำหรับสอดนิ้วโป้งเข้าไปกระตุกให้ปากอ้าหรือหุบได้
-ลักษณะตัวหุ่น ตัวหุ่นกระบอกจริงๆ คือ ไม้กระบอกหรือไม้ไผ่นั่นเองมีไหล่ทำด้วยไม้เจาะรูสำหรับเสียบ
-มือหุ่น หุ่นตัวพระ จะมีมือขวาถืออาวุธไว้เสมอ จึงมักจะแกะด้วยไม้มีรูสำหรับเสียบอาวุธเปลี่ยนไปได้ตามเรื่อง
             หุ่นตัวนาง มือหุ่นจะตั้งวงรำทั้งสองข้าง แต่บางตัวจะมีมือขวาถืออาวุธบ้างพัดบ้าง
ลักษณะโรงหุ่นกระบอกและฉาก
โรงหุ่น มีลักษณะดังนี้
๑.สูงจากพื้นดินพอประมาณให้คนยืนหรือนั่งดูได้
๒.ความยาวหน้าโรงประมาณ ๗ เมตร หรือ ๓ วา ๒ ศอก
๓.ความสูงจากพื้นถึงหลังคาโรงหุ่นประมาณ ๓.๕๐ เมตร
๔.ความสูงจากหน้าโรงถึงหลังโรงไม่น้อยกว่า ๕ เมตร
ฉากหุ่นกระบอกเขียนด้วยสีฝุ่นเป็นรูปปราสาทราชวัง เป็นฉากผ้ามี ๕ ชิ้น ตัดต่อกันเป็นผืนเดียวลงมาจากด้านบน โรงต้องสูงจากพื้นที่นั่งเชิด ๑ ศอก หรือ ๕๐ เซนติเมตร เพื่อให้มือคนเชิดสอดศอกมาจับหุ่นเชิดหน้าฉากได้สะดวก
วิธีการเล่น
การเชิดหุ่น มือซ้ายของผู้เชิดจะถือกระบอกไม้ไผ่อันเป็นลำตัวหุ่นและถือตะเกียบมือหุ่น ซ้าย ขวา ไว้ในมือขวาของผู้เชิด เมื่อมีการใช้บทบาทบางครั้งผู้เชิดจะเอานิ้วก้อยซ้ายหนีบตะเกียบซ้ายของหุ่น เอาไว้ การเชิดหุ่นมีท่าในการเชิดหลายแบบ คือ ท่าบทบาทได้เต็มที่
๑.กล่อมตัว เป็นท่าเชิดพื้นฐาน คือ กล่อมไหล่หุ่นจากซ้ายไปขวาและจากขวาไปซ้าย ให้นุ่มนวล
๒.เชิดอ้อมมือ คือ แทงมือจากขวาไปซ้าย และจากซ้ายไปขวา
๓.กระทบตัว ตรงกับจังหวะ ยืด ยุบ ของโขน ละคร
๔.โยกตัว ในจังหวะ "ต้อม ต้อมม่า ทิงทิง ตุ๊บ ทิงทิง"
ดนตรีการขับร้อง
วงดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงหุ่นกระบอก โดยมากใช้ปี่พาทย์เครื่องห้า ประกอบ ปี่ใน ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองแขก กลองทัด และเครื่องดนตรีที่เป็นสัญลักษณ์ของการแสดงหุ่นกระบอกที่จะขาดไม่ได้ คือ ซออู้ กลองแต๊ก แต๋ว นอกจากนี้ยังมี ม้าห้อ ล่อโก๊ะ เพิ่มพิเศษเฉพาะเรื่องราวที่เกี่ยวกับจีน เช่น เรื่องพระอภัยมณี ตอนศึกเก้าทัพ เป็นต้น ส่วนล่างของฉากจะเขียนเป็นกำแพงเมือง มีใบเสมาสูง ๑ ศอก หรือ ๕๐ เซนติเมตร ทำด้วยผ้าโปร่งหรือมู่ลี่ เพื่อให้คนเชิดเห็นตัวหุ่นได้ถนัด ประตูฉากมี ๔ ประตู ผู้รับโรง ๒ ประตู ด้านในอีก ๒ ประตู เป็นประตูสำหรับหุ่นเข้าออก ส่วนใหญ่จะใช้แต่ประตูใน หากเป็นการยกทัพมีคนมากจะใช้ประตูนอก
เรื่องที่ใช้ในการแสดง
พระอภัยมณี ลักษณวงศ์ สุวรรณหงส์ ไชยเชษฐ ไกรทอง ขุนช้าง-ขุนแผน วงษ์สวรรค์-จันทวาส พระปิ่นทอง (แก้วหน้าม้า) โกมินทร์ มาลัยทอง เป็นต้น
การพากย์หุ่น
ผู้เชิดต้องร้องเพลงหุ่นเอง และพูดเจรจาบทพากย์ต่างๆ บางทีก็ใช้ผู้หญิงพากย์แทนผู้เชิดที่เป็นชายก็มี และในการพากย์ การร้อง ต้องมีคนบอกบทคอยตะโกนบอกทั้งผู้เชิดและนักดนตรีเพื่อแสดงให้สอดคล้องกัน
 
 
หมากเก็บ
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์
-ก้อนหินลักษณะค่อนข้างกลมขนาดเท่าหัวแม่มือ จำนวน ๕ เม็ด
วิธีการเล่น
มี ๙ ขั้นตอน คือ หมาก ๑ หมาก ๒ หมาก ๓ หมาก ๔ หมากจุ๊บ หมากเล็กใหญ่ หมากคาย หมากแกง และหมากล้าน
ผู้เล่นจะต้องตกลงกันก่อนว่าจะเล่นสิ้นสุดเกมที่หมากใด แล้วแต่ความสามารถของคู่แข่งขัน ถ้าความสามารถน้อย จะสิ้นสุดที่หมาก ๔ หากความสามารถมากขึ้นก็อาจจบที่หมากจุ๊บ หมากเล็กใหญ่ หมากคาย และหมากแกง เป็นต้น แต่จะจบเกมที่ขั้นตอนใดก็ตาม จะต้องลงท้ายด้วยหมากล้านเสมอ
ระหว่างการเล่นจะต้องเล่นให้ถูกต้อง คือจะต้องรับก้อนหินที่โยนขึ้นไปให้ได้ และจะต้องหยิบก้อนหินที่พื้น โดยไม่ให้ก้อนอื่นสะเทือน หรือไหว หากรับไม่ได้หรือเล่นแล้วเกิดการไหว ก็จะต้องเปลี่ยนให้ฝ่ายตรงข้ามเล่นต่อ
การตัดสิน
การตัดสินว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายชนะนั้น จะนับคะแนนจากจำนวนเม็ดที่ล้านได้ ในหมากล้าน ใครเชี่ยวชาญเล่นได้โดยไม่ไหวเลย และเล่นได้หมากล้านบ่อยๆ ก็จะได้คะแนนมาก
ขั้นตอนการเล่นหมากเก็บ
หมาก ๑
ทอดก้อนหินทั้งหมดลงบนพื้น โยนก้อนหินเม็ดหนึ่งขึ้นไป แล้วเก็บก้อนหินที่ทอดลงไปทีละเม็ด พร้อมรับก้อนหินที่โยนขึ้นไปนั้นให้ได้ทีละเม็ดแล้ววางไว้ข้างตัว เก็บเม็ดที่เหลือโดยวิธีเดิม
หมาก ๒
ทำเช่นเดียวกับหมาก ๑ แต่เก็บก้อนหินครั้งละ ๒ เม็ด
หมาก ๓
ทำเข่นเดียวกับหมาก ๑ แต่เก็บก้อนหิน ๒ ครั้ง ครั้งละ ๑ เม็ด ๑ ครั้ง และครั้งละ ๓ เม็ด ๑ ครั้ง
หมาก ๔
โยนก้อนหินเม็ดหนึ่งขึ้นไป แล้ววางก้อนหิน ๔ ก้อนให้เป็นกองเดียวกัน เก็บก้อนหินทั้ง ๔ ก้อน ขึ้นมา พร้อมกับรับก้อนหินเม็ดที่ตกลงมาให้ได้
หมากจุ๊บ
ใช้วิธีเดียวกับหมาก ๔ แต่ตอนรับก้อนหินให้เอียงมือ เอาส่วนช่องว่างระหว่างหัวแม่มือและนิ้วชี้รับเม็ดก้อนหินที่ตกลงมาให้ได้
หมากเล็กใหญ่
ใช้วิธีเดียวกับหมาก ๑ แล้วฝ่ายตรงกันข้ามว่า "เล็ก" หรือ "ใหญ่" ฝ่ายตรงกันข้ามจะดูลักษณะเม็ดก้อนหินที่คู่แข่งทอดได้ หากก้อนหินอยู่ชิดกันมากอาจทำให้เกิดการไหวได้ ก็จะบอกว่า "เล็ก" ผู้แข่งขันก็จะต้องเก็บก้อนหินทีละเม็ดเหมือนหมาก ๑ ถ้าเม็ดก้อนหินอยู่ห่างกันมาก ฝ่ายตรงกันข้ามจะบอกว่า "ใหญ่" ผู้เล่นก็จะต้องโยนก้อนหินเม็ดหนึ่งขึ้นไปพร้อมกับใช้ฝ่ามือกวาดรวบก้อนหิน บนพื้นให้หมดทั้ง ๔ เม็ด หากรวบไม่ได้ หรือรับก้อนหินพลาด ก็ต้องเปลี่ยนให้ฝ่ายตรงกันข้ามเล่นต่อ
หมากคาย
ใช้มือกำก้อนหินไว้ในมือ ๔ เม็ด โยนก้อนหินเม็ดหนึ่งขึ้นไป พร้อมกับปล่อยก้อนหินออกจากมือ ๑ เม็ด แล้วเก็บก้อนหินพร้อมทั้งรับก้อนหินที่ตกลงมาให้ได้ โดยยังมีก้อนหินที่เหลือค้างอยู่ในมือ
หมากแกง
โยนก้อนหินหนึ่งเม็ดขึ้นไป พร้อมทอดก้อนหิน เมื่อทอดก้อนหินแล้วฝ่ายตรงกันข้ามจะเป็นผู้แกง โดยการเลือกก้อนหิน ๒ ก้อน มาวางให้ชิดกันตรงกลางระหว่างก้อนหิน ๒ เม็ด โดยให้อยู่ในแนวเดียวกัน ผู้เล่นจะต้องหยิบก้อนหิน ๒ เม็ด ที่อยู่ตรงกลางขึ้นมาให้ได้โดยไม่ให้เกิดการไหว การหยิบก็ใช้วิธีเดิมคือ โยนก้อนหินเม็ดหนึ่งขึ้นไป หยิบก้อนหิน ๒ เม็ดพร้อมกับรับก้อนหินที่ตกลงมาให้ได้ แล้ววางก้อนหิน ๒ เม็ดไว้ โยนก้อนหินหนึ่งเม็ดขึ้นไปแล้วรวบก้อนหินทั้ง ๒ เม็ดที่เหลือพร้อมรับก้อนหินที่ตกลงมาให้ได้
หมากล้าน
การเล่นหมากล้านมี ๒ วิธี คือ
การเล่นหมากล้านอย่างง่าย

ให้นำก้อนหินทั้ง ๕ เม็ด ไว้บนหลังมือแล้วโยนก้อนหินขึ้นไป พลิกฝ่ามือแล้วรับก้อนหินให้ได้ ถ้ารับได้เท่าใด ก็คิดคะแนนเท่านั้น
การเล่นหมากล้านอย่างยาก
ให้นำก้อนหินทั้ง ๕ เม็ด ไว้ในฝ่ามือ โยนก้อนหินทั้งหมดขึ้น ใช้หลังมือรับแล้วโยนก้อนหินที่รับได้ขึ้นไปอีกครั้งหนึ่งพร้อมทั้งหงายฝ่า มือรับก้อนหินที่ตกลงมาให้ได้ รับได้เท่าใดก็คิดเป็นคะแนนเท่านั้น
กติกาการแข่งขัน
ผู้เข้าแข่งขันจะตกลงกันก่อนว่า ใครจะเป็นผู้เล่นก่อน โดยการตัดสินเป่ายิงฉุบ หรือหมากล้าน ใครล้านได้จำนวนมากกว่าก็เป็นฝ่ายเริ่มก่อน
 
                                                                               

ท่าโพ-พันสี
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์
-ตะโพน
การแต่งกาย ชาย-หญิง นุ่งโจงกระเบน
เพลงเก็บดอกไม้ ใช้ร้องระหว่างหนุ่มสาว
" เก็บดอกไม้ร่วมต้น เป็นแต่คนละกิ่ง น้องกลัวจะตัดแต่ยอดของน้องเอาไปทิ้ง จะทำให้น้องประข่งเสียแล้ว เอย "
เมื่อเก็บดอกไม้เรียบร้อยแล้วก็จะพากันเข้าไปในโบสถ์ เพื่อมาไหว้พระ อธิษฐานโดยแยกชาย-หญิง โดยให้ทุกคนเป็นลูกคู่ เช่น
"(ชาย) อธิษฐานเอย มือหนึ่งถือพาน ถือพานด้วยดอกแก้ว เกิดมาชาติใดแล้ว ได้ขอให้มีใจผ่องแผ้ว เอย(ลูกคู่) อธิษฐานวานไหว้ ขอให้ได้เหมือนใจเราคิดอธิษฐานเอย ดอกรอบ ดอกผอย ขอให้พบพานเอย" แล้วฝ่ายหญิงก็จะร้องแก้ฝ่ายชายในทำนองเดียวกัน พอเล่นเพลงอธิษฐานครบทุกคนแล้ว ก็จะพากันออกมาจากลานวัด แล้วร่วมเล่น การละเล่นพื้นบ้าน โดยมีหมู่บ้าน แต่ละหมู่บ้านมาร่วมเล่นกัน เช่น เล่นมอญซ่อนผ้า ลูกช่วงลูกชัย ชักเย่อ แม่สี เสือกินลูกเจี๊ยบ และผีพุ่งใต้เป็นต้น
การละเล่นมีเพลง เช่น เพลงเสือกินลูกเจี๊ยบหรือเจี๊ยบ ๆ จ้อย ๆ
"เจี๊ยบ ๆ จ้อย ๆ หมาน้อยกินรำ เดือนมืดเดือนค่ำ อีกามาเห็น อีกามาร้อย ตัดไม้ สองปล้อง มาดีดนมสาว มะเขือขาว ๆ อีหลั่นกันเต อีเรกันหอย... "
เพลงแม่สี
"เชิญเอ๋ยเชิญลง ขอเชิญพระองค์ที่เขาขี้ฝอย ขี่พระยางาน้อย มาลงเอาแม่ตาดำ วันนี้ยังค่ำ มาเต้นมารำเอาแม่นา ค่ำลงวันนี้ขอเชิญแม่ผีมาเอย ผีอะไรเคยเล่น เคยเต้น เคยรำ วันนี้ วันยังค่ำ ขอเชิญมารำกันแม่นา ค่ำลงวันนี้ขอเชิญแม่สีมาเอย"
เพลงรำวงโบราณ
๑.โอ้พระเวสสันดรองค์พระโพธิญาณ ยกสองกุมารให้พรานชีไพร โอ้มัทรี สายใจ(ชะเออเอย)สลบลง ตาย ตายแน่หายาใดแก้คู่รักฉัน หากหายาไม่ทันคู่รักฉัน เห็นจะตายแน่
๒.โมรา โมรา โมรา แรกเริ่มเดิมมาอยู่ในฝาผอบ ตัวฉันชื่อจันทโครพ เปิดฝาผอบพบนางโมรา พาน้องไปเที่ยวกลางไพร น้องเดินไม่ไหวพี่ก็อุ้มนาง มาส่ง พระขรรค์ไปให้โจรไพร จะฆ่าพี่ชายเชียวหรือแม่โมรา
๓.วันทองเธอมาเป็นสองใจ เชื่อไม่ได้น้ำใจแม่วันทอง ขุนแผนไปทัพกลับมา มีรักใหม่ เชื่อไม่ได้น้ำใจแม่วันทอง ตัดใบตองเอามารองเลือด หวังจะเชือดดูเลือดแม่ วันทอง
๔.ลมพัดกระเซ็นไปทางทะเลภาคใต้ จะเหลียวแลไปหัวอกฉันให้ร้าวราน ลมพัดกระเซ็นพัดอยู่ไม่เว้นวัน เปรียบเหมือนดวงจันทร์โอ้ตัวฉันนี้เฝ้าคอย ช่วยโปรด เมตตามารับรักพี่ไว้สักหน่อย รักเขาจะค่อย ๆ อยู่ข้างหน้า
๕.ตะวันรอน ๆ พวกโจรสัญจรไปเจอพระจันทร์ ชื่อไรจะไปทางไหน กันฉันชื่อ พระจันทร์พร้อมด้วยนาง
      โมรา มาดแม้น ไม่ส่งนางมา พี่จ๋าคอยระวังภัยเธอไม่เป็นไร บอกกับนางโมรา
๖.ยามเมื่อฉันสิ้นบุญ ใครจะหนุนฉันเล่า มีกรรมเสียแล้วจ๋า (ๆ) หมดวาสนา น้ำตาไหลพราว ยามพี่มีเวรน้องจะช่วยค้ำ ยามพี่มีกรรมน้องจะช่วยอุดหนุน ยามพี่สิ้นบุญ สองมีอประคองจริง ๆ หรือน้องจ๊ะ รับรองจะต้องแน่นอน ๆ
๗.ยามจันทร์ฉาย แสงกระจายสว่างนภา เมฆน้อยลงมา สว่างจ้าดุจแสงกลางวัน ตัวพี่กระต่ายต่ำต้อย โอ้แม่สาวน้อย เปรียบเหมือนดวงจันทร์ เราซิมารักกัน รักกันให้มั่น ได้ไหมจ๊ะเธอ
๘.เจ้าพวงมาลัยเอย ลอยไปก็ลอยวน ลอยมาทางนี้ ลอยมาให้พี่สักคน เอ๋ยเจ้า พวงมาลัย หัวใจพี่จะขาดแล้วเอย
๙.ทิงโนงโหน่งโนง นกกิ้งโครงมาจับหลังคา จับแมวแจวเรือ มาจับเอาเสือไถนา
                                     
ชักเย่อ
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
วิธีการเล่น
แบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย ๆ ละกี่คนก็ได้ตามแต่จะตกลงกัน เมื่อแบ่งพวกได้แล้วก็ขีดเส้นแบ่งแดน หัวแถว (ถ้าเป็นชายเรียกพ่อหลัก ถ้าเป็นหญิงเรียกแม่หลัก) ของทั้งสองฝ่ายเหยียดแขนจับไม้ยึดแนวขนานกับพื้นทั้งสองมือ ไม้จะนอนขนานกับเส้นแบ่งแดน ลูกน้องของแต่ละฝ่ายเกาะเอวหัวแถวเรียงต่อ ๆ กัน เริ่มเล่นต่างฝ่ายพยายามดึงให้ฝ่ายตรงข้ามหลุดล้ำเข้ามาในแดนตน ฝ่ายใดหลุดล้ำถือเป็นฝ่ายแพ้ เมื่อแพ้ทั้งสองฝ่ายก็จะเริ่มต้นเล่นเพลงระบำกัน พอจบก็เริ่มชักเย่อกันใหม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น